วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน diabetes

เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ประเภทของ เบาหวาน

เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติ จะแบ่งอาหารออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน


น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย
ขนมหวานและขนมเชื่อมต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ฯลฯ
ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียน สับปะรดกวน เป็นต้น
น้ำหวานต่างๆ รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาลทั้งหลาย


2. กลุ่มที่ต้องจำกัดปริมาณ


อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง มักกะโรนี เป็นต้น
ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรืออาหารทอด ตลอดจนไขมันจากพืชบางอย่าง เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อาหารสำเร็จรูป หรือ อาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลจากผลไม้
ผักประเภทหัวที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก เช่น หัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม กระเจี๊ยบ ถั่วงอกหัวโต หัวปลี ฯลฯ
ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น


3. กลุ่มที่รับประทานได้ไม่จำกัด

ผักทุกชนิด (ยกเว้นผักประเภทที่มีแป้งมาก ได้แก่ ฟักทอง ถั่วลันเตา แครอท สะเดา)
อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลา กุ้ง เนื้อ หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น

ข้อพึงปฏิบัติในการควบคุมอาหาร

1.
เลือกรับประทานอาหาร โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้ตามประเภทของอาหารคือ
- พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท (แป้ง) ประมาณ 55 - 60 %
- พลังงานจากโปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15 - 20 %
- พลังงานจากไขมัน ประมาณ 25 %
2.
ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต้องลดปริมาณลง อาจจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทาน ห้ามน้ำตาลและของหวานทุกชนิด รวมทั้ง อาหารมันๆ และของทอด
3.
เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ผักทุกชนิด หรือ เม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย
4.
อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา ถ้าพลาดมื้ออาหารไป อาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
5.
รับประทานในปริมาณที่่สม่ำเสมอ และคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมได้ยาก
6.
ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานอาหารรสเค็มจัด ควรจะลดอาหารเค็ม
7.
ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว เช่น NPH หรือ Monotard ฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุดในตอนเย็น หรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4-6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่ายและมื้อกลางคืน ควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสม ไม่ให้บางมื้อมากเกินไป
8.
ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องคุมอาหารตลอดไป
9.
ขอให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยากในการควบคุมอาหาร

ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวัน ในกลุ่มอาหารที่ต้องจำกัดปริมาณ
หมวดที่ 1
นม วันละ 2-3 ส่วน นม 1 ส่วน คือ 240 cc. หรือนมผง 1/4 ถ้วยตวง
หมวดที่ 2
 เนื้อสัตว์ วันละ 2-3 ส่วน เนื้อสัตว์ 1 ส่วน - 30 กรัม หรือไข่เป็ดไข่ไก่ 50 กรัม
หมวดที่ 3
ข้าวและแป้ง วันละ 6-11 ส่วน

ข้าวสุก 1 ส่วน
 =
1 ทัพพี
ขนมปังปอนด์ 1 ส่วน
 = 
1 แผ่นใหญ่
ขนมจีน 1 ส่วน
=
2 จับ
ก๋วยเตี๋ยว 1 ส่วน
=
1/2 ถ้วยตวง
วุ้นเส้นแช่น้ำ 1 ส่วน
=
1/2 ถ้วยตวง

หมวดที่ 4
 ผักที่ต้องจำกัดปริมาณ วันละ 2-3 ส่วน ผัก 1 ส่วน เ่ท่ากับ ผักน้ำหนัก 100 กรัม ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ หอมหัวใหญ่ ฟักทอง บร๊อคโคลี่ ใบขี้เหล็ก ดอกกุ่ยช่าย ชะอม พริกหวาน สะเดา แครอท สะตอ เห็ด ผักกะเฉด ข้าวโพดอ่อน
หมวดที่ 5
ผลไม้ วันละ 2-4 ส่วน

ตัวอย่าง ผลไม้ 1 ส่วน
เท่ากับจำนวน
กล้วยน้ำว้าสุก, น้อยหน่า
1 ผลเล็ก
กล้วยหอม, มะม่วง, แอปเปิ้ล
1/2 ผล
ส้มเขียวหวาน, กล้วยไข่. ละมุด
1 ผล
เงาะ
3 ผล
มะละกอ, สับปะรด
6 ชิ้นคำ
แคนตาลูป
8 ชิ้นคำ
แตงโม
10 ชิ้นคำ
ลางสาด, ชมพู่
5 ผล
องุ่น
10-12 ผล
แตงไท, มะพร้าวอ่อน, สตอเบอรี่
1 ถ้วย
เนื้อมะพร้าวอ่อน
1/2 ถ้วย
ส้มโอ
1/5 ผล

หมวดที่ 6
ไขมัน ทานให้น้อยที่สุด
ควรเป็นไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ควรงด

อ้างอิง :  http://thaidiabetes.blogspot.com/
               http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-food-diabetes.html

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารกับผู้ป่วยเบาหวาน

ถ้าดื่มนม ควรดื่มนมจืด พร่องไขมัน นมเปรี้ยวส่วนใหญ่ไม่ใช่ นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลอยู่ด้วยประมาณ 15 % เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับนมถั่วเหลือง      ถ้าดื่มน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่แมก ไดเอทโค้ก เป็นต้น น้ำตาลเทียม น้ำตาลเทียมที่มีในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ *1.)แอสปาแทม ชื่อการค้าว่า อีควล (Equal) หรือไดเอดจำหน่ายเป็นเม็ด และเป็นซอง แอสปาแทมเป็นสารอาหารคือ เป็นกรดอะมิโนเอซิด (amino acid) มีสารอาหารต่ำใน 1 เม็ด มี 2 กิโลแคลอรี่ ใน 1 ซองมี 4 กิโลแคลอรี่ จึงรับประทานได้ แต่ไม่มากเกินไป เป็นส่วนผสมในน้ำอัดลม (เป๊ปซี่แมกซ์ ไดเอทโค้ก) คำเตือนข้างกล่องน้ำตาลเทียมและกระป๋องน้ำอัดลมว่า ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นฟีนิลคีโตยูเรีย(pheny lketonuria) โรคนี้พบน้อยในเมืองไทย และถ้าเป็นโรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยโรคตั้งแต่วัยเด็ก





*2.) แซคคารีน (saccharin) หรือขัณทสกรชื่อทางการค้าว่า สวีทแอนด์โลว์ (sweet and low) ไม่มีสารอาหาร มีการศึกษาว่าเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก ในคนยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดมะเร็ง

*3.) น้ำตาลฟรุคโตส หรือชอร์บิททอล เป็นน้ำตาลที่ผสมอยู่ในช๊อกโกแลตเบาหวาน แยมเบาหวาน เป็นต้น หรือจำหน่ายเป็นผงในกระป๋อง น้ำตาลชนิดนี้เป็นน้ำตาลจากผลไม้ มีสารอาหารเท่ากับน้ำตาลไม่ควรรับประทานน้ำตาลชนิดนี้ เพราะอาจเข้าใจผิดว่าไม่มีสารอาหาร และส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานผลไม้อยู่แล้ว 
ประเภทที่ 2 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน 

ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ฝักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่าง เช่น ต้ำจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากอาหารที่เรียกว่า ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง 
ประเภทที่ 3 รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน 

ได้แก่ อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผลให้ระดับไขมันสูง และเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ขอไตเสียไปเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย ผลไม้นั้นต้องจำกัดจำนวนควรรับประทานพร้อมกับอาหารครั้งละ 1 ส่วน ตามตารางแลกเปลี่ยน
เนื่องจากอาหารกลุ่มพวกแป้งหลีกเหลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะอาหารไทยดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพโดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่างคือ

1. ปริมาณไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร)2. ไกลซีมิค อินเดกซ์ (glycemic index)


คาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูง ควรได้รับไฟเบอร์ทั้งหมด 40 กรัม/วัน

แบ่งอาหารตามปริมาณไฟเบอร์ในอาหาร

มีไฟเบอร์สูง (มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) 
แอปเปิ้ล, ฝรั่ง, ข้าวโพดอ่อน, ถั้วแระ, ถั่วฝักยาว, แพร์, ถั่วเขียว, แครอท, อาหารซีรีล ชนิดแบรน,
เม็ดแมงลัก

มีไฟเบอร์ปานกลาง (1-3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) 
ขนมปังโฮลวีท, มะกะโรนี, กระหล่ำปี, ตะขบ, น้อยหน่า, สปาเกตตี, ข้าวแดง(ซ้อมมือ) ข้าวโพดต้ม, พุทรา

มีไฟเบอร์น้อย(น้อยกว่า 1 กรัม/อาหาร 100 กรัม) ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ในอาหารประเภทแป้ง

(โดยใช้ข้าวเจ้าเป็นอาหารมาตรฐาน)
ขนมปังขาว = 110 , ข้าวเจ้า = 100, ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ บะหมี่ = 75, วุ้นเส้น = 63 , ข้าวเหนียว = 106
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ = 76, มะกะโรนี สปาเกตตี = 64-67

ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย

(ใช้น้ำตาลกูลโคเป็นสารอาหารมาตรฐาน)
ทุเรียน = 62.4 , ลำใย = 57.2 , องุ่น = 53.1, มะละกอ = 40.6 , สับปะรด = 62.4 , ส้ม = 55.6
มะม่วง = 47.5, กล้วย = 38.6

จะเห็นได้ว่าการชิมผลไม้ว่าหวาน หรือไม่หวานนั้น อาจทำให้เข้าใจผิดว่า ผลไม้นั้นไม่มีปัญหาในการรับประทาน ผลไม้บางอย่างมีรสเปรี้ยวกลบรสหวานอยู่ ทั้งที่คุณสมบัติในการทำให้น้ำตาลสูงเท่าเทียมกับผลไม้รสหวาน เช่น สับปะรด ขณะที่มะม่วงมีรสหวานแต่ ไกลซีมิคอินเดกซ์ไม่สูงดังนั้นผลไม้ที่ไม่ควรรับประทานเนื่องจาก ไกลซีมิคอินเดกซ์สูงได้แก่ ทุเรียน สับปะรด ลำใย เป็นต้น ผลไม้ที่รับประทานได้ประจำเนื่องจากไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำได้แก่ กล้วย มะละกอ มะม่วง องุ่น เป็นต้น อาหารพวกแป้งเป็นอาหารหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรเลือกรับประทานกลุ่มที่มีไกลซีมิคเดกซ์ต่ำกว่าบ้างเช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ต่างๆ หลีกเลี่ยงที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์สูงเช่น ข้าวเหนียว ขนมปังขาว เป็นต้น
อ้างอิงจาก : http://www.thairunning.com/food_diabetes.htm
                    http://th.wikipedia.org/wiki

ข้าว, ขนุน, ลิ้นจี่, ชมพู่, องุ่น, มะม่วง, ละมุด, ลำไย, กล้วย, แตงโม, แตงไทย, มะปราง, ส้ม, อาหารชีริลชนิดคอร์นเฟลค
ไกลซีมิคอินเดกซ์ เป็นการวัดการดูดซึมของอาหาร เปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ เท่ากับ 100 แสดงว่าดูดซึมได้รวดเร็วเท่าอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคดินเดกซ์ต่ำกว่า 100 แสดงว่าดูด.ซึมได้ช้า ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่า 100 แสดงว่าดูดซึมได้มากกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารที่ควรรับประทานในผู้ป่วยเบาหวาน คือ อาหารที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ
 ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า อาหารไฟเบอร์ ทำให้การดูดซึมอาหารช้าลงจึงควรรับประทานอาหาร

เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

 

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้น อาจแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ประเภทคือ


     ถ้าดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำ ไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม (เช่น คอฟฟี่เมท ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกูลโคส 58 % น้ำมันปาล์ม 33 % ) ควรใส่นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำตาลเทียมแทน      ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน      ได้แก่ อาหารน้ำตาล และขนมหวาน เช่นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และขนมหวานอื่น ๆเครื่องดื่ม เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม น้ำเขียว น้ำแดง โอเลี้ยง เครื่องชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ซึ่งมีน้ำตาลประมาณ 8-15 % เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาลประมาณ 1%ควรดื่ม น้ำเปล่า น้ำชาไม่ใส่น้ำตาล

           เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เคล็ดลับดูแลผิวหน้า

ทุกวันนี้ผิวโดนทำร้ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด หรือมลภาวะต่างๆ ถึงเวลา Back to the nature เพิ่มเติมความสดใสคืนสู่ผิวกันแล้วนะจ๊ะ สำหรับหนุ่มสาวที่อยากหน้าใสสวยเด้ง ฟังทางนี้ โบว์ มี 6 สูตรมาร์คหน้าง่ายๆ ที่จะทำให้หน้าขาวใส มาฝากกันโดยใช้ผลไม้มาเป็นส่วนประกอบหลัก





1.สูตรหน้าใสด้วยน้ำผึ้งผสมมะนาว
ส่วนผสม:  น้ำผึ้ง 1 ถ้วย
น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
วิธีทำ: ผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวให้เข้ากัน นำมานวดให้ทั่วใบหน้าประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิวเช่นเดียวกับครีมที่ผสมกรด AHA ส่วนน้ำผึ้งจะทำให้ผิวหน้านุ่มและชุ่มชื้น
2. สูตรหน้าใสด้วยแอปเปิ้ล
ส่วนผสม: แอปเปิ้ล ปอกเปลือกแล้วคว้านเอาเฉพาะเนื้อ
น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: นำเนื้อแอปเปิ้ลมาปั่นรวมกับน้ำผึ้ง ทาให้ทั่วใบหน้าแล้วนวดเบาๆ ทิ้งไว้ 15 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็น
  • สูตรนี้จะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกไป เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหน้า ทำให้ใบหน้าดูสดใสเปล่งปลั่ง อีกด้วย
3. สูตรกระชับรูขุมขน
ส่วนผสม: กล้วยหอม แตงกวาหรือมะเขือเทศ เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งปอกเปลือก เอาเมล็ดออกให้หมดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
น้ำผึ้งหรือนมเปรี้ยว
วิธีทำ: ใช้กล้วยหอม แตงกวาหรือมะเขือเทศก็ได้ เติมน้ำผึ้งหรือนมเปรี้ยว นำไปปั่นให้ละเอียดจนเป็นเนื้อครีม นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  • สูตรนี้จะ ช่วยทำความสะอาดใบหน้า และกระชับรูขุมขนและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น
4. สูตรครีมทำความสะอาดผิวหน้า (Cleanser)
ส่วนผสม: โยเกิร์ต ½ ถ้วย
น้ำมันดอกทานตะวัน
มะนาวสด1½ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: ผสมโยเกิร์ต น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมะนาวสดให้เข้ากัน นำมาพอกให้ทั่วหน้าประมาณ 5 นาที ทุกเช้าและก่อนนอน แล้วจึงล้างออก ด้วยน้ำสะอาด
  • สูตรนี้ใช้ได้กับทุกสภาพผิว จะช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอีกด้วย
5. สูตรสาวผิวแห้ง มอยเจอร์ไรเซอร์จากกล้วย
ส่วนผสม: กล้วย 1 ผล
น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: บดกล้วยกับน้ำผึ้ง ผสมให้เข้ากัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น จะทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้นขึ้น
  • สูตรนี้เหมาะกับผิวแห้ง
6. สูตรพอกหน้าใสจากแตงกวา
ส่วนผสม: แตงกวา 1 ผล หั่นแตงกวาเป็น ชิ้นบางๆ
ไข่ไก่ 1 ฟอง(ใช้เฉพาะไข่ขาว)
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: นำแตงกวา ไข่ไก่(ใช้เฉพาะไข่ขาว)และมะนาว ไปปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุกสัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยกระชับรูขุมขน ผิวหน้าจะ ดูเนียนเรียบและชุ่มชื้น
  • เหมาะสำหรับผิวมันและผิวผสม
Tips:
  • ผลไม้ที่ใช้ต้องสด มีคุณภาพดี
  • ภาชนะที่ใช้ใส่ผลไม้ ส่วนผสมต่างๆ ควรใช้แก้วหรือกระเบื้อง
  • ก่อนทำการพอกหน้า ควรทำความสะอาดใบหน้าให้สะอาด โดยการอัง ใบหน้ากับไอน้ำและนวดเบาๆ เพื่อเปิดรูขุมขน
  • เวลาพอกหน้าไม่ควรพูดคุยหรืออ่านหนังสือ

อ้างอิงจาก : http://lady.one.in.th/tag/วิธีทำหน้าใส/

โรคห้วใจ

 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน... 

          คือ อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้


           1. เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ

           2. เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ

           3. ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

           4. ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน

           5. เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้

           6. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่สังเกตได้จากร่างกาย... 
          นอกจากความผิดปกติชนิดเฉียบพลันแล้ว อาการบ่งชี้ที่สังเกตได้จากร่างกายของเราเอง ก็เป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่เตือนให้รู้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ และควรไปพบแพทย์โดยด่วนได้เช่นกัน เป็นต้นว่า...

           1. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
เมื่อกดดูแล้วมีรอยบุ๋มตามนิ้วที่กดลงไป ซึ่งหากเกิดขึ้นกับใคร ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คโดยด่วน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่า เวลานี้คุณอาจอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวโดยที่ไม่รู้ตัว
            
           2. ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

 โรคหัวใจ ที่อาการผิดปกติที่ตรวจพบขณะตรวจร่างกาย...


          การไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราสามารถคาดคะเนความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ได้ เช่น ตรวจเลือดแล้วพบว่าเป็นเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบได้เช่นกัน หรือเอ็กซเรย์แล้วพบว่า ขนาดของหัวใจโตกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว และกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนกำลังลง ทำให้ห้องต่างๆ ของหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ตรวจพบว่ามีความเสี่ยงสูง ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

 ป้องกัน โรคหัวใจ อย่างไรดี... 
      
          ข้อมูลที่ได้บอกไปข้างต้น เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เรามีอัตราเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็น โรคหัวใจ เท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะวินิจฉัยว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือไม่ คือแพทย์ โรคหัวใจ เท่านั้น ดังนั้นหากพบความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนดีที่สุด

 สำหรับคนที่หัวใจยังเป็นปกติ เรามีข้อแนะนำในการดูแลหัวใจ (ก่อนสายเกินไป) ดังนี้ค่ะ

           สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น
            
           ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

           ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

           รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
            
           ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

          ... ยามใดที่ร่างกายอ่อนล้า เราหยุดพักให้หายเหนื่อยได้... แต่ยามใดที่หัวใจอ่อนแรง มันก็ยังคงเดินต่อไป ทำงานต่อไป... เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่า "หัวใจ" คนเราไม่เคยหยุดพัก อย่าลืมดูแลรักษามันไว้ให้ดีๆ นะคะ เพือจะได้ไม่เป็น โรคหัวใจ ค่ะ

อ้างอิงจาก : http://health.kapook.com/view28.html

ยินดีต้อนรับค่ะ

วันนี้อากาศดีมากมาย

มีตัวไรอยู่ข้างๆ