วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน diabetes

เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

ประเภทของ เบาหวาน

เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติ จะแบ่งอาหารออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน


น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย
ขนมหวานและขนมเชื่อมต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ฯลฯ
ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียน สับปะรดกวน เป็นต้น
น้ำหวานต่างๆ รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาลทั้งหลาย


2. กลุ่มที่ต้องจำกัดปริมาณ


อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง มักกะโรนี เป็นต้น
ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรืออาหารทอด ตลอดจนไขมันจากพืชบางอย่าง เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อาหารสำเร็จรูป หรือ อาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลจากผลไม้
ผักประเภทหัวที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก เช่น หัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม กระเจี๊ยบ ถั่วงอกหัวโต หัวปลี ฯลฯ
ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น


3. กลุ่มที่รับประทานได้ไม่จำกัด

ผักทุกชนิด (ยกเว้นผักประเภทที่มีแป้งมาก ได้แก่ ฟักทอง ถั่วลันเตา แครอท สะเดา)
อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลา กุ้ง เนื้อ หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น

ข้อพึงปฏิบัติในการควบคุมอาหาร

1.
เลือกรับประทานอาหาร โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้ตามประเภทของอาหารคือ
- พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท (แป้ง) ประมาณ 55 - 60 %
- พลังงานจากโปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15 - 20 %
- พลังงานจากไขมัน ประมาณ 25 %
2.
ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต้องลดปริมาณลง อาจจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทาน ห้ามน้ำตาลและของหวานทุกชนิด รวมทั้ง อาหารมันๆ และของทอด
3.
เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ผักทุกชนิด หรือ เม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย
4.
อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา ถ้าพลาดมื้ออาหารไป อาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
5.
รับประทานในปริมาณที่่สม่ำเสมอ และคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมได้ยาก
6.
ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานอาหารรสเค็มจัด ควรจะลดอาหารเค็ม
7.
ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว เช่น NPH หรือ Monotard ฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุดในตอนเย็น หรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4-6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่ายและมื้อกลางคืน ควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสม ไม่ให้บางมื้อมากเกินไป
8.
ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องคุมอาหารตลอดไป
9.
ขอให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยากในการควบคุมอาหาร

ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวัน ในกลุ่มอาหารที่ต้องจำกัดปริมาณ
หมวดที่ 1
นม วันละ 2-3 ส่วน นม 1 ส่วน คือ 240 cc. หรือนมผง 1/4 ถ้วยตวง
หมวดที่ 2
 เนื้อสัตว์ วันละ 2-3 ส่วน เนื้อสัตว์ 1 ส่วน - 30 กรัม หรือไข่เป็ดไข่ไก่ 50 กรัม
หมวดที่ 3
ข้าวและแป้ง วันละ 6-11 ส่วน

ข้าวสุก 1 ส่วน
 =
1 ทัพพี
ขนมปังปอนด์ 1 ส่วน
 = 
1 แผ่นใหญ่
ขนมจีน 1 ส่วน
=
2 จับ
ก๋วยเตี๋ยว 1 ส่วน
=
1/2 ถ้วยตวง
วุ้นเส้นแช่น้ำ 1 ส่วน
=
1/2 ถ้วยตวง

หมวดที่ 4
 ผักที่ต้องจำกัดปริมาณ วันละ 2-3 ส่วน ผัก 1 ส่วน เ่ท่ากับ ผักน้ำหนัก 100 กรัม ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ หอมหัวใหญ่ ฟักทอง บร๊อคโคลี่ ใบขี้เหล็ก ดอกกุ่ยช่าย ชะอม พริกหวาน สะเดา แครอท สะตอ เห็ด ผักกะเฉด ข้าวโพดอ่อน
หมวดที่ 5
ผลไม้ วันละ 2-4 ส่วน

ตัวอย่าง ผลไม้ 1 ส่วน
เท่ากับจำนวน
กล้วยน้ำว้าสุก, น้อยหน่า
1 ผลเล็ก
กล้วยหอม, มะม่วง, แอปเปิ้ล
1/2 ผล
ส้มเขียวหวาน, กล้วยไข่. ละมุด
1 ผล
เงาะ
3 ผล
มะละกอ, สับปะรด
6 ชิ้นคำ
แคนตาลูป
8 ชิ้นคำ
แตงโม
10 ชิ้นคำ
ลางสาด, ชมพู่
5 ผล
องุ่น
10-12 ผล
แตงไท, มะพร้าวอ่อน, สตอเบอรี่
1 ถ้วย
เนื้อมะพร้าวอ่อน
1/2 ถ้วย
ส้มโอ
1/5 ผล

หมวดที่ 6
ไขมัน ทานให้น้อยที่สุด
ควรเป็นไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ควรงด

อ้างอิง :  http://thaidiabetes.blogspot.com/
               http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-food-diabetes.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น