เบาหวาน diabetes
เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ประเภทของ เบาหวาน
เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
อ้างอิง : http://thaidiabetes.blogspot.com/
http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-food-diabetes.html
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติ จะแบ่งอาหารออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ห้ามรับประทาน
• | น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย | |
• | ขนมหวานและขนมเชื่อมต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ฯลฯ | |
• | ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียน สับปะรดกวน เป็นต้น | |
• | น้ำหวานต่างๆ รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ | |
• | ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำไย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาลทั้งหลาย |
2. กลุ่มที่ต้องจำกัดปริมาณ
• | อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง มักกะโรนี เป็นต้น | |
• | ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรืออาหารทอด ตลอดจนไขมันจากพืชบางอย่าง เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม | |
• | อาหารสำเร็จรูป หรือ อาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลจากผลไม้ | |
• | ผักประเภทหัวที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก เช่น หัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม กระเจี๊ยบ ถั่วงอกหัวโต หัวปลี ฯลฯ | |
• | ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น |
3. กลุ่มที่รับประทานได้ไม่จำกัด
• | ผักทุกชนิด (ยกเว้นผักประเภทที่มีแป้งมาก ได้แก่ ฟักทอง ถั่วลันเตา แครอท สะเดา) | |
• | อาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลา กุ้ง เนื้อ หมู และโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เต้าหู้ เป็นต้น |
ข้อพึงปฏิบัติในการควบคุมอาหาร
1. | เลือกรับประทานอาหาร โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้ตามประเภทของอาหารคือ | |
- พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท (แป้ง) ประมาณ 55 - 60 % | ||
- พลังงานจากโปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15 - 20 % | ||
- พลังงานจากไขมัน ประมาณ 25 % | ||
2. | ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต้องลดปริมาณลง อาจจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทาน ห้ามน้ำตาลและของหวานทุกชนิด รวมทั้ง อาหารมันๆ และของทอด | |
3. | เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ผักทุกชนิด หรือ เม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย | |
4. | อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา ถ้าพลาดมื้ออาหารไป อาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป | |
5. | รับประทานในปริมาณที่่สม่ำเสมอ และคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดควบคุมได้ยาก | |
6. | ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานอาหารรสเค็มจัด ควรจะลดอาหารเค็ม | |
7. | ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาฉีดอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว เช่น NPH หรือ Monotard ฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุดในตอนเย็น หรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4-6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่ายและมื้อกลางคืน ควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสม ไม่ให้บางมื้อมากเกินไป | |
8. | ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องคุมอาหารตลอดไป | |
9. | ขอให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยากในการควบคุมอาหาร |
ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวัน ในกลุ่มอาหารที่ต้องจำกัดปริมาณ
หมวดที่ 1
นม วันละ 2-3 ส่วน นม 1 ส่วน คือ 240 cc. หรือนมผง 1/4 ถ้วยตวง
หมวดที่ 2
เนื้อสัตว์ วันละ 2-3 ส่วน เนื้อสัตว์ 1 ส่วน - 30 กรัม หรือไข่เป็ดไข่ไก่ 50 กรัม
หมวดที่ 3
ข้าวและแป้ง วันละ 6-11 ส่วน
ข้าวสุก 1 ส่วน | = | 1 ทัพพี | ||
ขนมปังปอนด์ 1 ส่วน | = | 1 แผ่นใหญ่ | ||
ขนมจีน 1 ส่วน | = | 2 จับ | ||
ก๋วยเตี๋ยว 1 ส่วน | = | 1/2 ถ้วยตวง | ||
วุ้นเส้นแช่น้ำ 1 ส่วน | = | 1/2 ถ้วยตวง |
หมวดที่ 4
ผักที่ต้องจำกัดปริมาณ วันละ 2-3 ส่วน ผัก 1 ส่วน เ่ท่ากับ ผักน้ำหนัก 100 กรัม ได้แก่ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ หอมหัวใหญ่ ฟักทอง บร๊อคโคลี่ ใบขี้เหล็ก ดอกกุ่ยช่าย ชะอม พริกหวาน สะเดา แครอท สะตอ เห็ด ผักกะเฉด ข้าวโพดอ่อน
หมวดที่ 5
ผลไม้ วันละ 2-4 ส่วน
ตัวอย่าง ผลไม้ 1 ส่วน | เท่ากับจำนวน |
กล้วยน้ำว้าสุก, น้อยหน่า | 1 ผลเล็ก |
กล้วยหอม, มะม่วง, แอปเปิ้ล | 1/2 ผล |
ส้มเขียวหวาน, กล้วยไข่. ละมุด | 1 ผล |
เงาะ | 3 ผล |
มะละกอ, สับปะรด | 6 ชิ้นคำ |
แคนตาลูป | 8 ชิ้นคำ |
แตงโม | 10 ชิ้นคำ |
ลางสาด, ชมพู่ | 5 ผล |
องุ่น | 10-12 ผล |
แตงไท, มะพร้าวอ่อน, สตอเบอรี่ | 1 ถ้วย |
เนื้อมะพร้าวอ่อน | 1/2 ถ้วย |
ส้มโอ | 1/5 ผล |
หมวดที่ 6
ไขมัน ทานให้น้อยที่สุด
ควรเป็นไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย ยกเว้น น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม ควรงด
อ้างอิง : http://thaidiabetes.blogspot.com/
http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-food-diabetes.html