วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารกับผู้ป่วยเบาหวาน

ถ้าดื่มนม ควรดื่มนมจืด พร่องไขมัน นมเปรี้ยวส่วนใหญ่ไม่ใช่ นมพร่องไขมัน และมีน้ำตาลอยู่ด้วยประมาณ 15 % เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกับนมถั่วเหลือง      ถ้าดื่มน้ำอัดลม ควรดื่มน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาลเทียม เช่น เป๊ปซี่แมก ไดเอทโค้ก เป็นต้น น้ำตาลเทียม น้ำตาลเทียมที่มีในปัจจุบันมี 3 ประเภท คือ *1.)แอสปาแทม ชื่อการค้าว่า อีควล (Equal) หรือไดเอดจำหน่ายเป็นเม็ด และเป็นซอง แอสปาแทมเป็นสารอาหารคือ เป็นกรดอะมิโนเอซิด (amino acid) มีสารอาหารต่ำใน 1 เม็ด มี 2 กิโลแคลอรี่ ใน 1 ซองมี 4 กิโลแคลอรี่ จึงรับประทานได้ แต่ไม่มากเกินไป เป็นส่วนผสมในน้ำอัดลม (เป๊ปซี่แมกซ์ ไดเอทโค้ก) คำเตือนข้างกล่องน้ำตาลเทียมและกระป๋องน้ำอัดลมว่า ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นฟีนิลคีโตยูเรีย(pheny lketonuria) โรคนี้พบน้อยในเมืองไทย และถ้าเป็นโรคนี้จะได้รับการวินิจฉัยโรคตั้งแต่วัยเด็ก





*2.) แซคคารีน (saccharin) หรือขัณทสกรชื่อทางการค้าว่า สวีทแอนด์โลว์ (sweet and low) ไม่มีสารอาหาร มีการศึกษาว่าเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมาก ในคนยังไม่มีหลักฐานว่าทำให้เกิดมะเร็ง

*3.) น้ำตาลฟรุคโตส หรือชอร์บิททอล เป็นน้ำตาลที่ผสมอยู่ในช๊อกโกแลตเบาหวาน แยมเบาหวาน เป็นต้น หรือจำหน่ายเป็นผงในกระป๋อง น้ำตาลชนิดนี้เป็นน้ำตาลจากผลไม้ มีสารอาหารเท่ากับน้ำตาลไม่ควรรับประทานน้ำตาลชนิดนี้ เพราะอาจเข้าใจผิดว่าไม่มีสารอาหาร และส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานผลไม้อยู่แล้ว 
ประเภทที่ 2 รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน 

ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด เช่น ผักกาด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ฝักบุ้ง ถั่วงอก ทำเป็นอาหาร ตัวอย่าง เช่น ต้ำจืด ยำ สลัด ผัดผัก เป็นต้น อาหารเหล่านี้มีสารอาหารต่ำ นอกจากนั้นยังมีกากอาหารที่เรียกว่า ไฟเบอร์ ซึ่งทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง 
ประเภทที่ 3 รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน 

ได้แก่ อาหารพวกแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ปัจจุบันอาหารพวกแป้งนั้นไม่จำกัดจำนวน ถ้าผู้ป่วยไม่อ้วนมาก เนื่องจากลดอาหารจำพวกแป้ง ทำให้ต้องเพิ่มอาหารพวกไขมัน ซึ่งอาจเป็นผลให้ระดับไขมันสูง และเพิ่มเนื้อสัตว์ทำให้หน้าที่ขอไตเสียไปเร็วขึ้นในผู้ป่วยที่มีโรคไตร่วมด้วย ผลไม้นั้นต้องจำกัดจำนวนควรรับประทานพร้อมกับอาหารครั้งละ 1 ส่วน ตามตารางแลกเปลี่ยน
เนื่องจากอาหารกลุ่มพวกแป้งหลีกเหลี่ยงได้ยากโดยเฉพาะอาหารไทยดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีคุณภาพโดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่างคือ

1. ปริมาณไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร)2. ไกลซีมิค อินเดกซ์ (glycemic index)


คาร์โบไฮเดรตที่มีไฟเบอร์สูง ควรได้รับไฟเบอร์ทั้งหมด 40 กรัม/วัน

แบ่งอาหารตามปริมาณไฟเบอร์ในอาหาร

มีไฟเบอร์สูง (มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) 
แอปเปิ้ล, ฝรั่ง, ข้าวโพดอ่อน, ถั้วแระ, ถั่วฝักยาว, แพร์, ถั่วเขียว, แครอท, อาหารซีรีล ชนิดแบรน,
เม็ดแมงลัก

มีไฟเบอร์ปานกลาง (1-3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) 
ขนมปังโฮลวีท, มะกะโรนี, กระหล่ำปี, ตะขบ, น้อยหน่า, สปาเกตตี, ข้าวแดง(ซ้อมมือ) ข้าวโพดต้ม, พุทรา

มีไฟเบอร์น้อย(น้อยกว่า 1 กรัม/อาหาร 100 กรัม) ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ในอาหารประเภทแป้ง

(โดยใช้ข้าวเจ้าเป็นอาหารมาตรฐาน)
ขนมปังขาว = 110 , ข้าวเจ้า = 100, ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ บะหมี่ = 75, วุ้นเส้น = 63 , ข้าวเหนียว = 106
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ = 76, มะกะโรนี สปาเกตตี = 64-67

ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย

(ใช้น้ำตาลกูลโคเป็นสารอาหารมาตรฐาน)
ทุเรียน = 62.4 , ลำใย = 57.2 , องุ่น = 53.1, มะละกอ = 40.6 , สับปะรด = 62.4 , ส้ม = 55.6
มะม่วง = 47.5, กล้วย = 38.6

จะเห็นได้ว่าการชิมผลไม้ว่าหวาน หรือไม่หวานนั้น อาจทำให้เข้าใจผิดว่า ผลไม้นั้นไม่มีปัญหาในการรับประทาน ผลไม้บางอย่างมีรสเปรี้ยวกลบรสหวานอยู่ ทั้งที่คุณสมบัติในการทำให้น้ำตาลสูงเท่าเทียมกับผลไม้รสหวาน เช่น สับปะรด ขณะที่มะม่วงมีรสหวานแต่ ไกลซีมิคอินเดกซ์ไม่สูงดังนั้นผลไม้ที่ไม่ควรรับประทานเนื่องจาก ไกลซีมิคอินเดกซ์สูงได้แก่ ทุเรียน สับปะรด ลำใย เป็นต้น ผลไม้ที่รับประทานได้ประจำเนื่องจากไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำได้แก่ กล้วย มะละกอ มะม่วง องุ่น เป็นต้น อาหารพวกแป้งเป็นอาหารหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรเลือกรับประทานกลุ่มที่มีไกลซีมิคเดกซ์ต่ำกว่าบ้างเช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ต่างๆ หลีกเลี่ยงที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์สูงเช่น ข้าวเหนียว ขนมปังขาว เป็นต้น
อ้างอิงจาก : http://www.thairunning.com/food_diabetes.htm
                    http://th.wikipedia.org/wiki

ข้าว, ขนุน, ลิ้นจี่, ชมพู่, องุ่น, มะม่วง, ละมุด, ลำไย, กล้วย, แตงโม, แตงไทย, มะปราง, ส้ม, อาหารชีริลชนิดคอร์นเฟลค
ไกลซีมิคอินเดกซ์ เป็นการวัดการดูดซึมของอาหาร เปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ เท่ากับ 100 แสดงว่าดูดซึมได้รวดเร็วเท่าอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคดินเดกซ์ต่ำกว่า 100 แสดงว่าดูด.ซึมได้ช้า ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่า 100 แสดงว่าดูดซึมได้มากกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารที่ควรรับประทานในผู้ป่วยเบาหวาน คือ อาหารที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ
 ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า อาหารไฟเบอร์ ทำให้การดูดซึมอาหารช้าลงจึงควรรับประทานอาหาร

เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

 

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน

อาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้น อาจแบ่งง่าย ๆ เป็น 3 ประเภทคือ


     ถ้าดื่มกาแฟ ควรดื่มกาแฟดำ ไม่ควรใส่น้ำตาล นมข้นหวาน หรือครีมเทียม (เช่น คอฟฟี่เมท ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกูลโคส 58 % น้ำมันปาล์ม 33 % ) ควรใส่นมจืดพร่องไขมัน หรือน้ำตาลเทียมแทน      ประเภทที่ 1 ห้ามรับประทาน      ได้แก่ อาหารน้ำตาล และขนมหวาน เช่นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ลอดช่อง อาหารเชื่อม เค้ก ช็อกโกแลต ไอศกรีม และขนมหวานอื่น ๆเครื่องดื่ม เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม น้ำเขียว น้ำแดง โอเลี้ยง เครื่องชูกำลัง นมข้นหวาน น้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ซึ่งมีน้ำตาลประมาณ 8-15 % เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาลประมาณ 1%ควรดื่ม น้ำเปล่า น้ำชาไม่ใส่น้ำตาล

           เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น