วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การรับมือกับอาการวัยทอง


เมื่อเข้าสู่วัยทองต้องทำอะไรบ้าง
  • ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง ลดไขมัน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
  • ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูกทุกปี
การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านี้
ถ้าหากท่านมีอาการร้อนตามตัวจะแก้ไขอย่างไร
  • เมื่อเริ่มเกิดอาการร้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ
  • ให้นอนในห้องที่เย็น
  • ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดๆ และร้อน
  • หลีกเลี่ยงสุรา
  • หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าและใจเย็นๆ
  • ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น
  • แพทย์บางท่าแนะนำให้ใช้วิตามิน อีซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 clonidine และยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI เช่น Prozac Zoloft
  • อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว
อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยจะแก้ไขอย่างไร
  • เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมนก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได ้โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน 1 ใน 4 แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวันหลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งหรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย
  • นอกจากนั้นบางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว
อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน
  • ใช้ยายาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ serotonin ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า
การรักษาโรคกระโปร่งบางหรือกระดูกพรุน การป้องกันโรดกระดูกพรุนอ่านที่นี่
การรักษาโรคหัวใจ การป้องกันคลิกอ่านที่นี่
มะเร็งเต้านม คลิกอ่านที่นี่
การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม
Phytoestrogen
พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง

http://www.siamhealth.net/public_html/mother_child/menopause/menopause.htm

อากาของวัยทอง

   เมื่อระดับฮอร์โมน estrogen และ progesterone ลดลงจะทำให้เกิดอาการหลายอย่างบางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย( ผลของเอสโตรเจนต่อร่างกาย)อาการอาจจะเป็นไม่กี่เดือนก็หาย แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี อาการต่างๆมีดังนี้
  1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเช่นมาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย มานาน
  2. ร้อนตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอ หลังจะแดงหลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที
  3. ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับ estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องกั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ
  4. การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีหลังประจำเดือนครั้งสุดท้ายผู้ป่วยบางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลง แต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น
  5. มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย
  6. ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย
  7. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอวกล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว
  8. ปัญหาอื่น เช่นปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว

มะเร็ง&ผู้หญิง

โรคมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะเกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง

มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
Benign tumor
คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามตัดออกได้และไม่กลับเป็นซ้ำ ไม่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น fibroadenoma, cyst, fibrocystic disease
Malignant tumor
เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

เต้านมประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 lobe ภายใน lobe ประกอบด้วย lobules และมีถุง bulbs ติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะไปเปิดยังหัวนม nipple ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือดและน้ำเหลือง [lymph] ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้[axillary lymph node]
มะเร็งที่พบมากเกิดในท่อน้ำนมเรียก ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจไปยังกระดูก ตับ ปอด โดยไปทางหลอดเลือด

โรคของ...ผู้ชาย

โรคฮิตที่ผู้ชายควรระวัง
-  โรคหัวใจ ผู้ชายมักเริ่มมีอาการของโรคหัวใจเมื่อ อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น การอักเสบตรงผนังหัวใจ ความพิการของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมไปถึงหลอดเลือดแข็งตัว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ระบบควบคุมการทำงานของหัวใจล้มเหลว การที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ ได้แก่ ความเครียด ระดับโคเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน ระดับความดันเลือดสูง อาการเตือนที่ควรสังเกต คือ มีไข้ขึ้นสูง
 - โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ชาย 1 ใน 3 เมื่อวัยล่วงเข้าวัย 50 ปี มักมีอาการต่อมลูกหมากโต แต่กระนั้น อาการต่อมลูกหมากโตก็ยังไม่น่าเป็นห่วง เพียงแต่สร้างความรำคาญ แต่สิ่งที่อาจทำให้ผู้ชายนึกกลัว คือ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และมะเร็งต่อมลูกหมากที่จะตามมานั่นเอง
ดังนั้นผู้ชายที่มีอายุมากแล้ว เวลามีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรให้หมอตรวจเช็ก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ส่วนอาการที่บ่งบอกว่าต่อมลูกหมากโต เช่น ต้องออกแรงฉี่มาก แต่ปัสสาวะไหลน้อยและอ่อนแรง ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาจมีเลือดปนออกมา ซึ่งควรไปหาหมอ เพราะอาจมีความเจ็บป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น หนาวสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ ความน่ากลัวของโรคนี้สำหรับผู้ชาย คือ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพราะมีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน้อยลง
-  โรคความดันเลือดสูง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ ชายได้ตลอดเวลา เมื่ออายุย่าง 30-35 ปี มักเป็นก่อนอายุ 55 ปี โดยทั่วไปไม่พบอาการผิดปกติ แต่ตรวจพบเมื่อไปหาหมอด้วยโรคอื่น องค์การอนามัยโลก กำหนดค่าความดันเลือดที่เหมาะสมไว้ที่ 140/90 คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง คือมีค่าความดัน ช่วงบน-ช่วงล่าง มากกว่า 160/95 ส่วนค่าความดันที่ดี ควรน้อยกว่า 140/90 ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ อาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น หัวใจ ทำให้หัวใจวาย หอบเหนื่อย สมอง เส้นเลือดฝอยในสมองแตก หรือทำให้หลอดเลือดในดวงตาเสื่อม ประสาทตาเสีย ตาจะมัวมากขึ้นจนถึงขั้นทำให้บอด  
- โรคมะเร็ง ผู้ชายส่วนใหญ่มักเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคนี้แม้ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่จากงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ดี อาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ นอกจากนี้รายงานการวิจัยยังระบุว่า แม้ผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถลดความเสี่ยงการตายจากโรคนี้ได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอยู่
- โรคเบาหวาน  เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่พบมากในผู้ชายและคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โรคเบาหวานเป็นแล้วรักษายาก ปัญหาของคนเป็นโรคนี้คือ ไม่สนใจตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องของ อาหาร ไม่ออกกำลังกาย ปล่อยตัวให้อ้วน อันตรายของเบาหวาน คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับอวัยวะและระบบทำงานของร่างกาย คือ ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม ตามัวขึ้นเรื่อยๆ ปลายประสาทอาจเกิดการอักเสบ เกิดอาการชาหรือปวดร้อนที่ปลายนิ้ว บาดแผลเกิดง่ายแต่รักษายาก บางคนเป็นบาดแผลนิดเดียวแต่อาจลุกลามใหญ่โต รวมไปถึงการเสื่อมและเกิดภาวะไตวายได้

โรคร้าย&ผู้หญิง

โรคร้ายที่ผู้หญิงควรรู้
- มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี ถูกจัดเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรง ซึ่งผู้หญิงหลายคนยังหวาดหวั่นกับโรคนี้อยู่ มะเร็งเต้านมก็คือ เซลล์เนื้อร้ายในเนื้อเยื่อเต้านม ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตเห็นปัญหาในเบื้องต้นได้เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านม หรือมีของเหลวซึมออกมาจากหัวนม
ปัจจัยของโรคนี้มีสาเหตุหลายอย่างทั้ง พันธุกรรม การใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี ภาวะน้ำหนักเกิน การดื่มสุราจัด ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น ผู้หญิงทุกคนควรตรวจหาก้อนเนื้อที่เต้านมด้วยตนเอง และควรไปตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม หรืออุลตร้าซาวน์ด์เป็นประจำทุกปี สำหรับผู้หญิงที่อายุเกิน 40 ขึ้นไป         
- โรคหลอดเลือดสมอง ดูจะได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆ น้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นตัวการคร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้หญิงมีอายุยืนกว่าจึงได้รับความทรมานจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ชายไปโดยปริยาย โรคหลอดเลือดสมองเกิดจาก การที่หลอดเลือดซึ่งพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มจากแขนขาอ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน
นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน รวมทั้งผู้ที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิด ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- โรคหัวใจ สำหรับทั่วโลกและในประเทศไทย โรคหัวใจคร่าชีวิตผู้หญิงมากกว่าโรคมะเร็งเสียอีก โรคหัวใจเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งจำกัดหรือตัดการลำเลียงออกซิเจนไปสู่หัวใจ ปล่อยไว้อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
อาการของโรคหัวใจ จะปวดเสียดที่หน้าอก หายใจไม่ออก หายใจถี่ ปวดกราม ปวดไหล่ วิงเวียน คลื่นเหียน อาจาร และเหงื่อแตก สำหรับผู้หญิงนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ความเครียดเรื้อรัง น้ำหนักที่เกินมาตรฐาน มักเกิดขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จัด และครอบครัวมีประวัติการเจ็บป่วย
ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกต้องตามหลักควบคุมน้ำหนัก ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การผ่อนคลายก็เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการเกิดโรคหัวใจได้
- มะเร็งรังไข่ เป็นโรคที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ท้ายสุดส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงแก่ชีวิตได้ วารสารสมาคมการแพทย์อเมริกา ระบุว่าร้อยละ 94 ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ เริ่มมีอาการของมะเร็งมานานแล้ว อาการของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ คือ ช่องท้องบวมหรือขยายตัวเร็ว อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เจ็บบริเวณกระดูกเชิงกรานและช่องท้อง ปัสสาวะบ่อย และขับถ่ายผิดปกติ ฯลฯ 
การตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมีความสำคัญเพราะอาจช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ ในระยะแรกโรคจะจำกัดวงอยู่เฉพาะภายในรังไข่ แต่หลังจากนั้นจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ช่องคลอด สำหรับการตรวจหามะเร็งรังไข่มีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจช่องคลอดและทวารหนัก การตรวจอัลตร้าซาวน์ด์อุ้งเชิงกราน ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ไม่แตกต่างจากมะเร็งทั่วไปในเรื่องของประวัติครอบครัว รวมทั้งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- โรคกระดูกพรุน แม้โรคกระดูกพรุนอาจไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่คุกคามคุณภาพชีวิตของผู้หญิงไทยหลายล้านคนเลยทีเดียว ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนคงยืนยันได้ถึงความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและการมีข้อจำกัดทางกายภาพซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้โรคกระดูกพรุนยังเป็นสาเหตุของอาการกระดูกสะโพกร้าวซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจัด การกินอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีต่ำ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงขึ้น เราสามารถป้องกันได้โดยการบริโภคแคลเซียมอย่างเพียงพอ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะกระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 30 ปี และเริ่มเสื่อมลงอย่างช้าๆ ดังนั้นยิ่งกระดูกเราแข็งแรงมากเท่าไรในช่วงที่พัฒนาเต็มที่ ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพกระดูกเท่านั้น
    http://www.pooyingnaka.com/story/story.php?Category=health&No=1937

อาการไส้ติ่งอักเสบ(Appendicitis)

ไส้ติ่งอักเสบ สังเกตอย่างไร ?

     อาการปวดของไส้ติ่งแบบมาตรฐาน จะเริ่มปวดทั่วๆ บอกตำแหน่งแน่นอนไม่ได้ มักเป็นรอบๆ สะดืออาจเป็นพักๆ หรือตลอดเวลาก็ได้ แต่โดยทั่วไปมักเป็นแบบตลอดเวลา หลังจากนั้นประมาณ 6-10 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ต่ำกว่าสะดือ ปวดตลอดเวลา อาจมีไข้ขึ้น มีเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อาการปวดแบบมาตรฐาน(classical symptom) จะพบประมาณ 25% เท่านั้น ส่วนที่เหลืออาจไม่เป็นแบบนี้ เช่น อาจไม่มีย้ายจุดปวด อาจปวดเป็นพักๆ ได้ (กรณีระยะแรก หรือเป็นชนิดที่อยู่หน้าหรือหลังลำไส้เล็ก pre-ileal or post-ileal type) แต่ประเด็นสำคัญคือปวดด้านขวาล่างๆ กดเจ็บ เดินตัวงอ มีเบื่ออาหาร มักปวดตลอดเวลา
    อาการเบื่ออาหารเป็นอาการที่สำคัญมาก พบเกือบ 100% ฉะนั้น ถ้าปวดท้องแต่ไม่เบื่ออาหาร กินข้าวได้ดี โอกาสเป็นไส้ติ่งอักเสบแทบจะไม่มี ถ้าไส้ติ่งแตก ไข้จะสูงลอย 40 องศา ปวดทั่วท้องทั้งซ้ายและขวา ท้องจะแข็งเกร็งไปหมด เดินไม่ไหว ต้องนอนนิ่งๆ
    การรักษา ไม่ว่าไส้ติ่งจะแตกหรือไม่ ต้องทำการผ่าตัดสถานเดียว ปวดท้องทั่วไปจากโรคอื่นๆ โดยทั่วไป มักปวดเป็นพักๆ ถ้าเป็นจากโรคแผลในกระเพาะ มักปวดใต้ลิ้นปี่ สัมพันธ์กับอาหาร โดยจะท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดจุกเสียดก็ได้ มักเป็นหลังอาหาร( คือทานอาหารแล้วแย่ลง) แต่ถ้าเป็น แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเป็นที่ใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มักปวดจุกเสียดก่อนอาหาร พอทานอาหารแล้วจะดีขึ้น
    อาการปวดจากถุงน้ำดี มักเป็นที่ชายโครงขวา อาจมีร้าวไป บริเวณมุมล่างของสะบักขวาหรือบริเวณระหว่างสะบัก จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ จะมีอาการแน่นหรืออืด หลังทานอาหารมันๆ (Fat Intolerance) หรือมีปวดท้องหลังอาหารเย็นเป็นพักๆ ที่ชายโครงขวา (Biliary Colic) ปวดจากนิ่วในท่อไต อาการปวดจะเป็นพักๆ มากบริเวณเอวด้านหลังอาจร้าวมาขาหนีบ หรือบริเวณอัณฑะ ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
    ปวดจากปีกมดลูก หรือรังไข่ จะปวดบริเวณท้องน้อย ไม่สัมพันธ์กับอาหาร มักมีเลือดหรือตกขาวผิดปกติ ทางช่องคลอดร่วมด้วย


การใช้...ยาแอสไพริน

  แอสไพริน (Aspirin)
 แอสไพริน (Aspirin) หรือ อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด (acetylsalicylic acid) เป็นยาในกลุ่มซาลิไซเลต (salicylate) นิยมใช้เป็นยาบรรเทาปวด ยาลดไข้ (antipyretic) และ ลดการอักเสบ มีผลต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ในปริมาณการใช้ต่ำๆ และระยะยาวใช้ป้องกันโรคหัวใจ
   แอสไพรินเป็นชื่อทางการค้าของไบเออร์ ประเทศเยอรมนี บางประเทศใช้ชื่อแอสไพรินเป็นชื่อสามัญ บางประเทศใช้ชื่อย่อจาก อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด คือ ASA พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างแอสไพรินและอาการรีอายส์ (Reye's syndrome) จึงไม่ใช้แอสไพรินรักษาอาการไข้ในเด็ก
   ในปริมาณการใช้ต่ำๆ และระยะยาวพบว่าแอสไพรินมีผลยับยั้งการสร้างทรอมโบเซน A2 (thromboxane A2) ในเกล็ดเลือด (platelet) ทำให้เกิดการยับยั้งการรวมกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) ซึ่งเป็นผลให้เลือดไม่แข็งตัว ปริมาณการใช้แอสไพรินที่ให้ผลนี้คือขนาด 75 หรือ 81 มก. ในรูปยาเม็ด สำหรับในโรคหัวใจเฉียบพลันสามารถใช้แอสไพรินในปริมาณการใช้สูงได้ด้วย

สรรพคุณ
1.ลดไข้ แก้ตัวร้อน
2.แก้อาการปวดทุกชนิด เช่น ปวดหัว ปวดหู ปวดตา ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดข้อ ประจำเดือน ปวดแผล เป็นต้น (ยกเว้น ปวดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก ห้ามใช้)
3.มีฤทธิ์เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ใช้แก้อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ
4.ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ

สรรพคุณอย่างอื่น
นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แนะนำให้กินยาแอสไพรินเม็ดขนาด 300 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จะป้องกันมะเร็งลำไส้ได้

ขนาดและวิธีใช้1.แก้ปวดลดไข้
0-1 ปี ห้ามใช้
เด็กอายุ 1-5 ปี ให้เบบี้แอสไพริน (75 มก.) ครั้งละ 1 เม็ดต่ออายุ 1 ปี (เช่น อายุ 1 ปีให้ 1 เม็ด , 2 ปีให้ 2 เม็ด) หรือแอสไพริน (325 มก.) ขนาด 1/4 เม็ด (หนึ่งเสี้ยว) ต่ออายุ 1 ปี (ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ)เด็กอายุ 5-10 ปี ให้แอสไพรินครั้งละ 1 - 1 1/2 เม็ดเด็กอายุมากกว่า 10 ปี และผู้ใหญ่ ให้แอสไพรินครั้งละ 2 เม็ดกินเวลามีอาการ ถ้าไม่หาย ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรกินหลังอาหารหรือพร้อมนม และดื่มน้ำตามมาก ๆ
2. แก้ข้ออักเสบ ให้ขนาด 1 1/2 เท่า ของขนาดที่ใช้แก้ปวดลดไข้ เช่น ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
3. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ให้แอสไพรินครั้งละ 75-325 มก. วันละครั้งหลังอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน

ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ เลือดออกง่าย และแพ้ยาได้

ข้อควรระวัง
1.ที่สำคัญและพบบ่อย คือ การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ควรกินหลังอาหาร หรือพร้อมนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก
2.อาจเกิดอาการแพ้ เป็นลมพิษ ผื่นคัน หอบหืดได้
3.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยานี้ และผู้ป่วยโรคหืด ลมพิษ หวัดจากการแพ้ ที่เคยมีอาการกำเริบจากการใช้แอสไพริน หรือยาในกลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
4.ถ้าใช้ขนาดสูง อาจทำให้หูอื้อ มีเสียงดังในหูได้
5.ถ้ากินเกินขนาดมาก ๆ อาจเกิดพิษต่อร่างกาย เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) เป็นอันตรายได้
6.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติซีดเหลืองบ่อยจากโรคโลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงแตก เพราะจะทำให้เกิดอาการซีดเหลืองได้
7.ทำให้เลือดออกง่าย เพราะยานี้จะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด (platelets aggregation) จึงห้ามใช้
ในผู้ป่วยที่สงสัยจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ ( เช่น ไอทีพี, ฮีโมฟิเลีย) ขณะเดียวกัน ก็นำมาใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในหลอดเลือดหัวใจ และสมอง
8.ไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ อาจทำให้เลือดออกง่าย และไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส อาจทำให้เป็นโรคเรย์ซินโดรม (Reye 's syndrome) ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงตายได้
9.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด อาจทำให้คลอดยาก และตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้ทารกมีภาวะเลือดออกง่าย
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในคนที่แพ้ยานี้ คนที่เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก, โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, ไข้เลือดออก, หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนตลอด, เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี, เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส

อ้างอิง: http://www.ideaforlife.net/health/drug/0005.html
http://www.bangkokhospital.com/index.php?p=th/in_aspirin_bgh&lang=TH