แอสไพริน (Aspirin)
แอสไพริน (Aspirin) หรือ อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด (acetylsalicylic acid) เป็นยาในกลุ่มซาลิไซเลต (salicylate) นิยมใช้เป็นยาบรรเทาปวด ยาลดไข้ (antipyretic) และ ลดการอักเสบ มีผลต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ในปริมาณการใช้ต่ำๆ และระยะยาวใช้ป้องกันโรคหัวใจแอสไพรินเป็นชื่อทางการค้าของไบเออร์ ประเทศเยอรมนี บางประเทศใช้ชื่อแอสไพรินเป็นชื่อสามัญ บางประเทศใช้ชื่อย่อจาก อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด คือ ASA พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างแอสไพรินและอาการรีอายส์ (Reye's syndrome) จึงไม่ใช้แอสไพรินรักษาอาการไข้ในเด็ก
ในปริมาณการใช้ต่ำๆ และระยะยาวพบว่าแอสไพรินมีผลยับยั้งการสร้างทรอมโบเซน A2 (thromboxane A2) ในเกล็ดเลือด (platelet) ทำให้เกิดการยับยั้งการรวมกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) ซึ่งเป็นผลให้เลือดไม่แข็งตัว ปริมาณการใช้แอสไพรินที่ให้ผลนี้คือขนาด 75 หรือ 81 มก. ในรูปยาเม็ด สำหรับในโรคหัวใจเฉียบพลันสามารถใช้แอสไพรินในปริมาณการใช้สูงได้ด้วย
สรรพคุณ
1.ลดไข้ แก้ตัวร้อน
2.แก้อาการปวดทุกชนิด เช่น ปวดหัว ปวดหู ปวดตา ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดข้อ ประจำเดือน ปวดแผล เป็นต้น (ยกเว้น ปวดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก ห้ามใช้)
3.มีฤทธิ์เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ใช้แก้อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ
4.ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ
สรรพคุณอย่างอื่น
นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แนะนำให้กินยาแอสไพรินเม็ดขนาด 300 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จะป้องกันมะเร็งลำไส้ได้
ขนาดและวิธีใช้1.แก้ปวดลดไข้
0-1 ปี ห้ามใช้
เด็กอายุ 1-5 ปี ให้เบบี้แอสไพริน (75 มก.) ครั้งละ 1 เม็ดต่ออายุ 1 ปี (เช่น อายุ 1 ปีให้ 1 เม็ด , 2 ปีให้ 2 เม็ด) หรือแอสไพริน (325 มก.) ขนาด 1/4 เม็ด (หนึ่งเสี้ยว) ต่ออายุ 1 ปี (ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ)เด็กอายุ 5-10 ปี ให้แอสไพรินครั้งละ 1 - 1 1/2 เม็ดเด็กอายุมากกว่า 10 ปี และผู้ใหญ่ ให้แอสไพรินครั้งละ 2 เม็ดกินเวลามีอาการ ถ้าไม่หาย ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรกินหลังอาหารหรือพร้อมนม และดื่มน้ำตามมาก ๆ
2. แก้ข้ออักเสบ ให้ขนาด 1 1/2 เท่า ของขนาดที่ใช้แก้ปวดลดไข้ เช่น ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
3. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ให้แอสไพรินครั้งละ 75-325 มก. วันละครั้งหลังอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน
ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ เลือดออกง่าย และแพ้ยาได้
ข้อควรระวัง
1.ที่สำคัญและพบบ่อย คือ การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ควรกินหลังอาหาร หรือพร้อมนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก
2.อาจเกิดอาการแพ้ เป็นลมพิษ ผื่นคัน หอบหืดได้
3.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยานี้ และผู้ป่วยโรคหืด ลมพิษ หวัดจากการแพ้ ที่เคยมีอาการกำเริบจากการใช้แอสไพริน หรือยาในกลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
4.ถ้าใช้ขนาดสูง อาจทำให้หูอื้อ มีเสียงดังในหูได้
5.ถ้ากินเกินขนาดมาก ๆ อาจเกิดพิษต่อร่างกาย เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) เป็นอันตรายได้
6.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติซีดเหลืองบ่อยจากโรคโลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงแตก เพราะจะทำให้เกิดอาการซีดเหลืองได้
7.ทำให้เลือดออกง่าย เพราะยานี้จะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด (platelets aggregation) จึงห้ามใช้
ในผู้ป่วยที่สงสัยจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ ( เช่น ไอทีพี, ฮีโมฟิเลีย) ขณะเดียวกัน ก็นำมาใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในหลอดเลือดหัวใจ และสมอง
8.ไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ อาจทำให้เลือดออกง่าย และไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส อาจทำให้เป็นโรคเรย์ซินโดรม (Reye 's syndrome) ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงตายได้
9.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด อาจทำให้คลอดยาก และตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้ทารกมีภาวะเลือดออกง่าย
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในคนที่แพ้ยานี้ คนที่เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก, โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, ไข้เลือดออก, หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนตลอด, เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี, เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส
อ้างอิง: http://www.ideaforlife.net/health/drug/0005.html
http://www.bangkokhospital.com/index.php?p=th/in_aspirin_bgh&lang=TH
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น