วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การรับมือกับอาการวัยทอง


เมื่อเข้าสู่วัยทองต้องทำอะไรบ้าง
  • ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง ลดไขมัน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
  • ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
  • ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูกทุกปี
การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านี้
ถ้าหากท่านมีอาการร้อนตามตัวจะแก้ไขอย่างไร
  • เมื่อเริ่มเกิดอาการร้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ
  • ให้นอนในห้องที่เย็น
  • ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดๆ และร้อน
  • หลีกเลี่ยงสุรา
  • หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าและใจเย็นๆ
  • ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น
  • แพทย์บางท่าแนะนำให้ใช้วิตามิน อีซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 clonidine และยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI เช่น Prozac Zoloft
  • อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว
อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยจะแก้ไขอย่างไร
  • เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมนก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได ้โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน 1 ใน 4 แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวันหลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งหรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย
  • นอกจากนั้นบางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว
อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน
  • ใช้ยายาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ serotonin ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า
การรักษาโรคกระโปร่งบางหรือกระดูกพรุน การป้องกันโรดกระดูกพรุนอ่านที่นี่
การรักษาโรคหัวใจ การป้องกันคลิกอ่านที่นี่
มะเร็งเต้านม คลิกอ่านที่นี่
การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม
Phytoestrogen
พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง

http://www.siamhealth.net/public_html/mother_child/menopause/menopause.htm

อากาของวัยทอง

   เมื่อระดับฮอร์โมน estrogen และ progesterone ลดลงจะทำให้เกิดอาการหลายอย่างบางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย( ผลของเอสโตรเจนต่อร่างกาย)อาการอาจจะเป็นไม่กี่เดือนก็หาย แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี อาการต่างๆมีดังนี้
  1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเช่นมาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย มานาน
  2. ร้อนตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอ หลังจะแดงหลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที
  3. ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับ estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องกั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ
  4. การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีหลังประจำเดือนครั้งสุดท้ายผู้ป่วยบางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลง แต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น
  5. มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย
  6. ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย
  7. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอวกล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว
  8. ปัญหาอื่น เช่นปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว

มะเร็ง&ผู้หญิง

โรคมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะเกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง

มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
Benign tumor
คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามตัดออกได้และไม่กลับเป็นซ้ำ ไม่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น เช่น fibroadenoma, cyst, fibrocystic disease
Malignant tumor
เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

เต้านมประกอบด้วยต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 lobe ภายใน lobe ประกอบด้วย lobules และมีถุง bulbs ติดอยู่กับท่อน้ำนมซึ่งจะไปเปิดยังหัวนม nipple ภายในเต้านมยังมีหลอดเลือดและน้ำเหลือง [lymph] ซึ่งจะไปรวมกันยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้[axillary lymph node]
มะเร็งที่พบมากเกิดในท่อน้ำนมเรียก ductal carcinoma เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมักไปตามต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และอาจไปยังกระดูก ตับ ปอด โดยไปทางหลอดเลือด

โรคของ...ผู้ชาย

โรคฮิตที่ผู้ชายควรระวัง
-  โรคหัวใจ ผู้ชายมักเริ่มมีอาการของโรคหัวใจเมื่อ อายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น การอักเสบตรงผนังหัวใจ ความพิการของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมไปถึงหลอดเลือดแข็งตัว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ระบบควบคุมการทำงานของหัวใจล้มเหลว การที่ทำให้เป็นโรคหัวใจ ได้แก่ ความเครียด ระดับโคเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน ระดับความดันเลือดสูง อาการเตือนที่ควรสังเกต คือ มีไข้ขึ้นสูง
 - โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ชาย 1 ใน 3 เมื่อวัยล่วงเข้าวัย 50 ปี มักมีอาการต่อมลูกหมากโต แต่กระนั้น อาการต่อมลูกหมากโตก็ยังไม่น่าเป็นห่วง เพียงแต่สร้างความรำคาญ แต่สิ่งที่อาจทำให้ผู้ชายนึกกลัว คือ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และมะเร็งต่อมลูกหมากที่จะตามมานั่นเอง
ดังนั้นผู้ชายที่มีอายุมากแล้ว เวลามีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรให้หมอตรวจเช็ก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ส่วนอาการที่บ่งบอกว่าต่อมลูกหมากโต เช่น ต้องออกแรงฉี่มาก แต่ปัสสาวะไหลน้อยและอ่อนแรง ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาจมีเลือดปนออกมา ซึ่งควรไปหาหมอ เพราะอาจมีความเจ็บป่วยอื่นร่วมด้วย เช่น หนาวสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ ความน่ากลัวของโรคนี้สำหรับผู้ชาย คือ ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพราะมีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน้อยลง
-  โรคความดันเลือดสูง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ ชายได้ตลอดเวลา เมื่ออายุย่าง 30-35 ปี มักเป็นก่อนอายุ 55 ปี โดยทั่วไปไม่พบอาการผิดปกติ แต่ตรวจพบเมื่อไปหาหมอด้วยโรคอื่น องค์การอนามัยโลก กำหนดค่าความดันเลือดที่เหมาะสมไว้ที่ 140/90 คนที่เป็นโรคความดันเลือดสูง คือมีค่าความดัน ช่วงบน-ช่วงล่าง มากกว่า 160/95 ส่วนค่าความดันที่ดี ควรน้อยกว่า 140/90 ความน่ากลัวของโรคนี้ คือ อาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น หัวใจ ทำให้หัวใจวาย หอบเหนื่อย สมอง เส้นเลือดฝอยในสมองแตก หรือทำให้หลอดเลือดในดวงตาเสื่อม ประสาทตาเสีย ตาจะมัวมากขึ้นจนถึงขั้นทำให้บอด  
- โรคมะเร็ง ผู้ชายส่วนใหญ่มักเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคนี้แม้ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่จากงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ดี อาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ นอกจากนี้รายงานการวิจัยยังระบุว่า แม้ผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถลดความเสี่ยงการตายจากโรคนี้ได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอยู่
- โรคเบาหวาน  เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่พบมากในผู้ชายและคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน โรคเบาหวานเป็นแล้วรักษายาก ปัญหาของคนเป็นโรคนี้คือ ไม่สนใจตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องของ อาหาร ไม่ออกกำลังกาย ปล่อยตัวให้อ้วน อันตรายของเบาหวาน คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับอวัยวะและระบบทำงานของร่างกาย คือ ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย ประสาทตาหรือจอตาเสื่อม ตามัวขึ้นเรื่อยๆ ปลายประสาทอาจเกิดการอักเสบ เกิดอาการชาหรือปวดร้อนที่ปลายนิ้ว บาดแผลเกิดง่ายแต่รักษายาก บางคนเป็นบาดแผลนิดเดียวแต่อาจลุกลามใหญ่โต รวมไปถึงการเสื่อมและเกิดภาวะไตวายได้

โรคร้าย&ผู้หญิง

โรคร้ายที่ผู้หญิงควรรู้
- มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี ถูกจัดเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรง ซึ่งผู้หญิงหลายคนยังหวาดหวั่นกับโรคนี้อยู่ มะเร็งเต้านมก็คือ เซลล์เนื้อร้ายในเนื้อเยื่อเต้านม ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตเห็นปัญหาในเบื้องต้นได้เมื่อคลำพบก้อนที่เต้านม หรือมีของเหลวซึมออกมาจากหัวนม
ปัจจัยของโรคนี้มีสาเหตุหลายอย่างทั้ง พันธุกรรม การใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานานเกิน 5 ปี ภาวะน้ำหนักเกิน การดื่มสุราจัด ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมทั้งสิ้น ผู้หญิงทุกคนควรตรวจหาก้อนเนื้อที่เต้านมด้วยตนเอง และควรไปตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม หรืออุลตร้าซาวน์ด์เป็นประจำทุกปี สำหรับผู้หญิงที่อายุเกิน 40 ขึ้นไป         
- โรคหลอดเลือดสมอง ดูจะได้รับความสนใจจากสื่อต่างๆ น้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นตัวการคร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้หญิงมีอายุยืนกว่าจึงได้รับความทรมานจากโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ชายไปโดยปริยาย โรคหลอดเลือดสมองเกิดจาก การที่หลอดเลือดซึ่งพาออกซิเจนไปเลี้ยงสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดออกซิเจนและเกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการพูด การเคลื่อนไหวของร่างกาย อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในกรณีที่รุนแรง
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มจากแขนขาอ่อนแรงหรือชาบริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น มีปัญหาด้านการพูดหรือการเข้าใจบทสนทนา ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ รวมถึงอาการวิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน
นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน รวมทั้งผู้ที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิด ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- โรคหัวใจ สำหรับทั่วโลกและในประเทศไทย โรคหัวใจคร่าชีวิตผู้หญิงมากกว่าโรคมะเร็งเสียอีก โรคหัวใจเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งจำกัดหรือตัดการลำเลียงออกซิเจนไปสู่หัวใจ ปล่อยไว้อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
อาการของโรคหัวใจ จะปวดเสียดที่หน้าอก หายใจไม่ออก หายใจถี่ ปวดกราม ปวดไหล่ วิงเวียน คลื่นเหียน อาจาร และเหงื่อแตก สำหรับผู้หญิงนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แก่ ความเครียดเรื้อรัง น้ำหนักที่เกินมาตรฐาน มักเกิดขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จัด และครอบครัวมีประวัติการเจ็บป่วย
ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกต้องตามหลักควบคุมน้ำหนัก ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การผ่อนคลายก็เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการเกิดโรคหัวใจได้
- มะเร็งรังไข่ เป็นโรคที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ท้ายสุดส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงแก่ชีวิตได้ วารสารสมาคมการแพทย์อเมริกา ระบุว่าร้อยละ 94 ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ เริ่มมีอาการของมะเร็งมานานแล้ว อาการของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ คือ ช่องท้องบวมหรือขยายตัวเร็ว อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เจ็บบริเวณกระดูกเชิงกรานและช่องท้อง ปัสสาวะบ่อย และขับถ่ายผิดปกติ ฯลฯ 
การตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมีความสำคัญเพราะอาจช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ ในระยะแรกโรคจะจำกัดวงอยู่เฉพาะภายในรังไข่ แต่หลังจากนั้นจะแพร่ขยายอย่างรวดเร็วไปยังส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ช่องคลอด สำหรับการตรวจหามะเร็งรังไข่มีหลายวิธี ได้แก่ การตรวจช่องคลอดและทวารหนัก การตรวจอัลตร้าซาวน์ด์อุ้งเชิงกราน ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ไม่แตกต่างจากมะเร็งทั่วไปในเรื่องของประวัติครอบครัว รวมทั้งความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
- โรคกระดูกพรุน แม้โรคกระดูกพรุนอาจไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่คุกคามคุณภาพชีวิตของผู้หญิงไทยหลายล้านคนเลยทีเดียว ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนคงยืนยันได้ถึงความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดและการมีข้อจำกัดทางกายภาพซึ่งเป็นธรรมชาติของโรคนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้โรคกระดูกพรุนยังเป็นสาเหตุของอาการกระดูกสะโพกร้าวซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราจัด การกินอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดีต่ำ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงขึ้น เราสามารถป้องกันได้โดยการบริโภคแคลเซียมอย่างเพียงพอ ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะกระดูกจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 30 ปี และเริ่มเสื่อมลงอย่างช้าๆ ดังนั้นยิ่งกระดูกเราแข็งแรงมากเท่าไรในช่วงที่พัฒนาเต็มที่ ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพกระดูกเท่านั้น
    http://www.pooyingnaka.com/story/story.php?Category=health&No=1937

อาการไส้ติ่งอักเสบ(Appendicitis)

ไส้ติ่งอักเสบ สังเกตอย่างไร ?

     อาการปวดของไส้ติ่งแบบมาตรฐาน จะเริ่มปวดทั่วๆ บอกตำแหน่งแน่นอนไม่ได้ มักเป็นรอบๆ สะดืออาจเป็นพักๆ หรือตลอดเวลาก็ได้ แต่โดยทั่วไปมักเป็นแบบตลอดเวลา หลังจากนั้นประมาณ 6-10 ชั่วโมง อาการปวดจะย้ายมาที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ต่ำกว่าสะดือ ปวดตลอดเวลา อาจมีไข้ขึ้น มีเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อาการปวดแบบมาตรฐาน(classical symptom) จะพบประมาณ 25% เท่านั้น ส่วนที่เหลืออาจไม่เป็นแบบนี้ เช่น อาจไม่มีย้ายจุดปวด อาจปวดเป็นพักๆ ได้ (กรณีระยะแรก หรือเป็นชนิดที่อยู่หน้าหรือหลังลำไส้เล็ก pre-ileal or post-ileal type) แต่ประเด็นสำคัญคือปวดด้านขวาล่างๆ กดเจ็บ เดินตัวงอ มีเบื่ออาหาร มักปวดตลอดเวลา
    อาการเบื่ออาหารเป็นอาการที่สำคัญมาก พบเกือบ 100% ฉะนั้น ถ้าปวดท้องแต่ไม่เบื่ออาหาร กินข้าวได้ดี โอกาสเป็นไส้ติ่งอักเสบแทบจะไม่มี ถ้าไส้ติ่งแตก ไข้จะสูงลอย 40 องศา ปวดทั่วท้องทั้งซ้ายและขวา ท้องจะแข็งเกร็งไปหมด เดินไม่ไหว ต้องนอนนิ่งๆ
    การรักษา ไม่ว่าไส้ติ่งจะแตกหรือไม่ ต้องทำการผ่าตัดสถานเดียว ปวดท้องทั่วไปจากโรคอื่นๆ โดยทั่วไป มักปวดเป็นพักๆ ถ้าเป็นจากโรคแผลในกระเพาะ มักปวดใต้ลิ้นปี่ สัมพันธ์กับอาหาร โดยจะท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดจุกเสียดก็ได้ มักเป็นหลังอาหาร( คือทานอาหารแล้วแย่ลง) แต่ถ้าเป็น แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเป็นที่ใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา มักปวดจุกเสียดก่อนอาหาร พอทานอาหารแล้วจะดีขึ้น
    อาการปวดจากถุงน้ำดี มักเป็นที่ชายโครงขวา อาจมีร้าวไป บริเวณมุมล่างของสะบักขวาหรือบริเวณระหว่างสะบัก จะมีลักษณะที่สำคัญ คือ จะมีอาการแน่นหรืออืด หลังทานอาหารมันๆ (Fat Intolerance) หรือมีปวดท้องหลังอาหารเย็นเป็นพักๆ ที่ชายโครงขวา (Biliary Colic) ปวดจากนิ่วในท่อไต อาการปวดจะเป็นพักๆ มากบริเวณเอวด้านหลังอาจร้าวมาขาหนีบ หรือบริเวณอัณฑะ ร่วมกับมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
    ปวดจากปีกมดลูก หรือรังไข่ จะปวดบริเวณท้องน้อย ไม่สัมพันธ์กับอาหาร มักมีเลือดหรือตกขาวผิดปกติ ทางช่องคลอดร่วมด้วย


การใช้...ยาแอสไพริน

  แอสไพริน (Aspirin)
 แอสไพริน (Aspirin) หรือ อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด (acetylsalicylic acid) เป็นยาในกลุ่มซาลิไซเลต (salicylate) นิยมใช้เป็นยาบรรเทาปวด ยาลดไข้ (antipyretic) และ ลดการอักเสบ มีผลต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ในปริมาณการใช้ต่ำๆ และระยะยาวใช้ป้องกันโรคหัวใจ
   แอสไพรินเป็นชื่อทางการค้าของไบเออร์ ประเทศเยอรมนี บางประเทศใช้ชื่อแอสไพรินเป็นชื่อสามัญ บางประเทศใช้ชื่อย่อจาก อะซิทิลซาลิไซลิก แอซิด คือ ASA พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างแอสไพรินและอาการรีอายส์ (Reye's syndrome) จึงไม่ใช้แอสไพรินรักษาอาการไข้ในเด็ก
   ในปริมาณการใช้ต่ำๆ และระยะยาวพบว่าแอสไพรินมีผลยับยั้งการสร้างทรอมโบเซน A2 (thromboxane A2) ในเกล็ดเลือด (platelet) ทำให้เกิดการยับยั้งการรวมกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) ซึ่งเป็นผลให้เลือดไม่แข็งตัว ปริมาณการใช้แอสไพรินที่ให้ผลนี้คือขนาด 75 หรือ 81 มก. ในรูปยาเม็ด สำหรับในโรคหัวใจเฉียบพลันสามารถใช้แอสไพรินในปริมาณการใช้สูงได้ด้วย

สรรพคุณ
1.ลดไข้ แก้ตัวร้อน
2.แก้อาการปวดทุกชนิด เช่น ปวดหัว ปวดหู ปวดตา ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดข้อ ประจำเดือน ปวดแผล เป็นต้น (ยกเว้น ปวดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก ห้ามใช้)
3.มีฤทธิ์เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ใช้แก้อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ
4.ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ

สรรพคุณอย่างอื่น
นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แนะนำให้กินยาแอสไพรินเม็ดขนาด 300 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จะป้องกันมะเร็งลำไส้ได้

ขนาดและวิธีใช้1.แก้ปวดลดไข้
0-1 ปี ห้ามใช้
เด็กอายุ 1-5 ปี ให้เบบี้แอสไพริน (75 มก.) ครั้งละ 1 เม็ดต่ออายุ 1 ปี (เช่น อายุ 1 ปีให้ 1 เม็ด , 2 ปีให้ 2 เม็ด) หรือแอสไพริน (325 มก.) ขนาด 1/4 เม็ด (หนึ่งเสี้ยว) ต่ออายุ 1 ปี (ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ)เด็กอายุ 5-10 ปี ให้แอสไพรินครั้งละ 1 - 1 1/2 เม็ดเด็กอายุมากกว่า 10 ปี และผู้ใหญ่ ให้แอสไพรินครั้งละ 2 เม็ดกินเวลามีอาการ ถ้าไม่หาย ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรกินหลังอาหารหรือพร้อมนม และดื่มน้ำตามมาก ๆ
2. แก้ข้ออักเสบ ให้ขนาด 1 1/2 เท่า ของขนาดที่ใช้แก้ปวดลดไข้ เช่น ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
3. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ให้แอสไพรินครั้งละ 75-325 มก. วันละครั้งหลังอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน

ผลข้างเคียง
อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ เลือดออกง่าย และแพ้ยาได้

ข้อควรระวัง
1.ที่สำคัญและพบบ่อย คือ การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ควรกินหลังอาหาร หรือพร้อมนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก
2.อาจเกิดอาการแพ้ เป็นลมพิษ ผื่นคัน หอบหืดได้
3.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยานี้ และผู้ป่วยโรคหืด ลมพิษ หวัดจากการแพ้ ที่เคยมีอาการกำเริบจากการใช้แอสไพริน หรือยาในกลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
4.ถ้าใช้ขนาดสูง อาจทำให้หูอื้อ มีเสียงดังในหูได้
5.ถ้ากินเกินขนาดมาก ๆ อาจเกิดพิษต่อร่างกาย เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) เป็นอันตรายได้
6.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติซีดเหลืองบ่อยจากโรคโลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงแตก เพราะจะทำให้เกิดอาการซีดเหลืองได้
7.ทำให้เลือดออกง่าย เพราะยานี้จะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด (platelets aggregation) จึงห้ามใช้
ในผู้ป่วยที่สงสัยจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ ( เช่น ไอทีพี, ฮีโมฟิเลีย) ขณะเดียวกัน ก็นำมาใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในหลอดเลือดหัวใจ และสมอง
8.ไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ อาจทำให้เลือดออกง่าย และไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส อาจทำให้เป็นโรคเรย์ซินโดรม (Reye 's syndrome) ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงตายได้
9.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด อาจทำให้คลอดยาก และตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้ทารกมีภาวะเลือดออกง่าย
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในคนที่แพ้ยานี้ คนที่เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก, โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, ไข้เลือดออก, หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนตลอด, เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี, เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส

อ้างอิง: http://www.ideaforlife.net/health/drug/0005.html
http://www.bangkokhospital.com/index.php?p=th/in_aspirin_bgh&lang=TH

ประโยชน์ของ"ดอกปีบ"



ต้นดอกปีบ


การใช้ประโยชน์จากต้นปีบ

ส่วนที่ใช้ :  ราก ดอก ใบ
สรรพคุณ :
         
เป็นพืชที่นำมาใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด ในตำรายาไทย เช่น


วิธีและปริมาณที่ใช้
แก้หอบหืด  ใช้ดอกแห้ง 6-7 ดอก มวนเป็นบุหรี่สูบ
          นักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการสกัดส่วนต่าง ๆ ของปีบ เพื่อหาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ในการรักษา ตรวจพบสาร Scutellarein และ Scutellarein-5-galactoside จากดอกปีบ ต่อมาตรวจพบว่าในใบ มีสาร hispidulin
           ในผล พบ acetyl oleanolic acid
           ในดอก มีสาร Scutellarein, hispidulin และ Scutellarein-5-galactoside
           ในราก พบสาร hentriacontane, lapachol, hentria contanol-1, B-stosterol และ paulownin

           ในส่วนของแก่นไม้และเปลือกของต้น พบสาร B-stosterol นำมาสก้ดออกจากดอกปีบแห้งโดยนำสารสกัดด้วย methanol มาแยกลำดับส่วนด้วย ปีโตรเลียมอีเธอร์ คลอโรฟอร์ม บิวธานอล และน้ำ นำส่วนต่าง ๆ เหล่านี้มาทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าส่วนสกัดจากคลอโรฟอร์ม จะมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในขณะที่ส่วนสกัด Butanol และน้ำ จะมีฤทธิ์ทำให้หลอดลมหดตัว และพบว่าส่วนสกัดแยกส่วนด้วย Butanol จากสารสกัดด้วยน้ำ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม จากการศึกษานี้ จึงเชื้อว่า hispidulin มีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดลม ซึ่งขณะนี้กำลังมีผู้วิจัยศึกษาถึงฤทธิ์ ขยายหลอดลมในร่างกายของสัตว์ทดลอง     

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_08_2.htm
  • ราก - บำรุงปอด รักษาวัณโรค อาการหอบหืด



  • ดอก - ใช้รักษาอาการหอบหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) เพิ่มรสชาติ นำดอกปีบแห้ง ผสมยาสูบมามวนเป็นบุหรี่ สำหรับสูบสูด เพื่อรักษาอาการหอบหืด



  • ใบ - ใช้มวนบุหรี่สูบแทนฝิ่น ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน
  • สัญลักษณ์ของ ชาวพยาบาล






           สภาการพยาบาลได้กำหนดให้ใช้ "ดอกปีบ" เป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2534 เป็นต้นมา เนื่องจาก "ดอกปีบ" เป็นดอกไม้สีขาวที่มีกลิ่นหอม ต้นปีบเป็นไม้ยืนต้น ขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ราก ลำต้น และดอกใช้เป็นสมุนไพรได้ เปรียบกับพยาบาลในชุดสีขาวผู้พร้อมที่จะประกอบคุณงามความดี ประดุจกลิ่นหอมของดอกปีบ และพร้อมที่สร้างประโยชน์เช่นเดียวกับการเป็นสมุนไพรของ "ดอกปีบ"
    

    การทำคลอด

    มาดูแคลอรี่ในอาหารกันเถอะ+++


    หมวด ก
    ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่,เส้นเล็ก ๑/๒ ถ้วยตวง (๖๕ กรัม) ๖๘ แคลอรี่
    ไก่ทอด ๑ น่อง (๓๐ กรัม) ๗๓ แคลอรี่
    ไก่ทอด ๑/๒ อก (๙๐ กรัม) ๑๕๕ แคลอรี่
    ไก่ทอด (ส่วนเนื้อและมัน) น่องและตะโพก (๑๐๐ กรัม) ๒๕๔ แคลอรี่
    ไก่ย่าง ๑/๔ ตัว ๒๒๐ แคลอรี่
    กะทิ ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๔ กรัม) ๔๕ แคลอรี่
    แกงจืดผักกาดขาวหมูสับ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๐ แคลอรี่
    แกงจืดผักตำลึงหมูสับ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๐ แคลอรี่
    แกงจืดฟักกับไก่ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๐ แคลอรี่
    แกงหน่อไม้กับไก่ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๓๗ แคลอรี่
    แกงจืดวุ้นเส้น ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๔ แคลอรี่
    แกงจืดผักกวางตุ้ง ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๔๐ แคลอรี่
    แกงจืดเต้าหู้ขาวหมูสับ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๑ แคลอรี่
    แกงต้มยำไก่ (ไม่ติดมัน) ๑ ถ้วย (๑๒๐ กรัม) ๕๕ แคลอรี่
    แกงต้มยำปลาหมึก ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๗๓ แคลอรี่
    แกงต้มยำเนื้อ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๐๘ แคลอรี่
    แกงต้มยำปลาทู ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๖๔ แคลอรี่
    แกงต้มกะทิกับปลาทู ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    แกงมัสมั่นเนื้อ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๖๒ แคลอรี่
    แกงกะหรี่เนื้อ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๓๔ แคลอรี่
    แกงเผ็ดเนื้อ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๑๙-๑๖๓ แคลอรี่
    แกงต้มข่าไก่ ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๑๘ แคลอรี่
    แกงคั่วหน่อไม้ดอง ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๗๖ แคลอรี่
    แกงส้มถั่วฝักยาว ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    แกงเลียงนพเก้า ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๒ แคลอรี่
    แกงต้มโคล้ง ๑ ถ้วย (๑๐๐ กรัม) ๕๕ แคลอรี่
    ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสับ ๑ จาน (๒๑๑ กรัม) ๒๑๔ แคลอรี่
    ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำ ๑ ชาม (๓๒๒ กรัม) ๒๗๖ แคลอรี่
    ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว ๑ จาน ๔๒๕ แคลอรี่
    ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ๑ จาน ๔๑๑ แคลอรี่
    ก๋วยเตี๋ยวหลอด ๒ อัน (๗๐ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    กระหรี่พัฟ ๑ ตัว (๓๘ กรัม) ๑๕๗ แคลอรี่
    กล้วยฉาบ ๗ ชิ้น ๒๐๐ แคลอรี่
    กล้วยแขก ๕ ชิ้น ๒๕๒ แคลอรี่
    กล้วยไข่เชื่อม ๒ ผล ๑๗๗ แคลอรี่
    กล้วยบวดชี ๔ ชิ้น ๑๒๙ แคลอรี่
    กาแฟร้อน ๑ ถ้วย ๑๐๗ แคลอรี่
    กระเพาะปลา ๑ ชาม (๒๓๘ กรัม) ๑๓๙ แคลอรี่


    หมวด ข
    ข้าวสุก ๑ ทัพพี (๑/๒ ถ้วย) ๖๘ แคลอรี่ (๒ ทัพพี = ๑ ถ้วยตวง)
    ขนมปังปอนด์ ๑ แผ่น ๖๘ แคลอรี่
    ขนมปังกรอบ (สี่เหลี่ยม ๒ ๑/๒ X ๒ ๑/๒ นิ้ว) ๒ แผ่น (๒๐ กรัม) ๖๘ แคลอรี่
    ขนมจีน ๑ ๑/๒ จับ (๖๕ กรัม) ๖๘ แคลอรี่
    ขนมปังแฮมเบอร์เกอร์ ๑/๒ อัน ๖๘ แคลอรี่
    ข้าวโอ๊ท ๑ ถ้วยตวง ๑๓๐ แคลอรี่
    ข้าวโพด (ขนาด ๕ นิ้ว) ๑ ฝัก (๑๔๐ กรัม) ๗๐ แคลอรี่
    ไข่ต้ม, ไข่ลวก (ไข่เป็ด, ไข่ไก่) ๑ ฟอง (๕๐ กรัม) ๗๓ แคลอรี่
    ไข่ดาวน้ำมัน ๑ ฟอง (๔๓ กรัม) ๑๒๔ แคลอรี่
    ไข่เจียว ๑ ฟอง (๖๐ กรัม) ๒๔๓ แคลอรี่
    ข้าวหมูแดง ๑ จาน (๒๑๓ กรัม) ๒๕๔ แคลอรี่
    ข้าวหน้าเป็ด ๑ จาน (๒๑๓ กรัม) ๓๐๘ แคลอรี่
    ข้าวหน้าไก่อบ ๑ จาน (๑๙๐ กรัม) ๒๘๙ แคลอรี่
    ข้าวหน้าหมูอบ ๑ จาน (๒๒๗ กรัม) ๒๔๖ แคลอรี่
    ข้าวแกงเผ็ดไก่ ๑ จาน (๒๓๘ กรัม) ๓๑๗ แคลอรี่
    ข้าวแกงกระหรี่ไก่ ๑ จาน (๑๘๐ กรัม) ๒๔๖ แคลอรี่
    ข้าวหมูทอด ๑ จาน (๑๖๑ กรัม) ๒๖๓ แคลอรี่
    ข้าวผัดเผ็ดปลาดุก ๑ จาน (๑๙๓ กรัม) ๓๖๙ แคลอรี่
    ข้าวแพนงเนื้อ ๑ จาน (๒๐๗ กรัม) ๒๘๙ แคลอรี่
    ข้าวเนื้อผัดใบกระเพรา ๑ จาน (๒๐๑ กรัม) ๓๙๔ แคลอรี่
    ข้าวผัดปูใส่ไข่ ๑ จาน (๒๐๘ กรัม) ๒๗๗ แคลอรี่
    ข้าวผัดซีอิ้ว ๑ จาน (๒๗๔ กรัม) ๓๕๐ แคลอรี่
    ข้าวมันไก่ ๑ จาน (๒๓๐ กรัม) ๔๔๙ แคลอรี่
    ข้าวผัดพริกขิงถั่วฝักยาว ๑ จาน (๑๘๒ กรัม) ๓๒๖ แคลอรี่
    ข้าวซอยไก่ ๑ จาน (๒๕๖ กรัม) ๓๐๕ แคลอรี่
    ขนมจีนน้ำยา ๑ จาน (๑๓๖ กรัม) ๑๓๐ แคลอรี่
    ขนมจีนน้ำพริก ๑ จาน (๒๑๐ กรัม) ๒๙๒ แคลอรี่
    ข้าวต้มมัด ๑ ห่อ ๑๙๗ แคลอรี่
    ข้าวโพดคั่ว ๑ ถ้วย ๔๐ แคลอรี่
    ข้าวโพดคลุก ๑ จานเล็ก (๘๐ กรัม) ๑๕๖ แคลอรี่
    ข้าวเม่าน้ำกะทิ ๑ จานเล็ก (๗๔ กรัม) ๑๐๒ แคลอรี่
    ข้าวเหนียวดำเปียก ๑ ชามเล็ก (๑๓๐ กรัม) ๑๙๙ แคลอรี่
    ขนมบ้าบิ่น (๒ X ๒ นิ้ว) ๑ ชิ้น (๕๔ กรัม) ๑๓๐ แคลอรี่
    ขนมผิง ๒๗ ก้อน (๔๓ กรัม) ๑๒๘ แคลอรี่
    ขนมบัวลอย ๑ จานเล็ก (๑๐๐ กรัม) ๒๑๑ แคลอรี่
    ขนมหม้อแกงเผือก (๒ X ๒ นิ้ว) ๑ ชิ้น (๖๐ กรัม) ๑๗๔ แคลอรี่
    หมวด ค
    คอฟฟี่เมท ๑ ช้อนชา (๕ กรัม) ๒๘ แคลอรี่
    ครีมชีส ๑ อัน (๑๔ กรัม) ๕๘ แคลอรี่
    เค้กชอคโกแลต ๑ อัน (๖๙ กรัม) ๒๓๕ แคลอรี่
    คุ๊กกี้ ๑ ชิ้น (๑๐ กรัม) ๕๐ แคลอรี่
    คาราเมล ๑ ออนซ์ (๒๘ กรัม) ๑๑๕ แคลอรี่
    โคคา โคล่า ๑ ขวด (๓๖๐ กรัม) ๑๕๓ แคลอรี่
    หมวด ง
    เงาะ ๖ ผล (๑๐๐ กรัม) ๖๐ แคลอรี่
    หมวด ซ
    ซี่โครงหมู (ส่วนเนื้อและมัน) ๓๐ กรัม ๑๐๐ แคลอรี่
    ซอสมะเขือเทศ ๑ ช้อนโต๊ะ ๑๕ แคลอรี่
    ซุปหน่อไม้ ๑ ถ้วย ๘๕ แคลอรี่
    ซุปเห็ด ๑ ถ้วย ๑๓๙ แคลอรี่ (ข้อมูลโดยประมาณ อาจคาดเคลื่อนเล็กน้อย)
    หมวด ฉ
    เฉาก๊วย ๑ ชาม (๑๐๐ กรัม) ๑๙ แคลอรี่ (ข้อมูลโดยประมาณ อาจคาดเคลื่อนเล็กน้อย)
    หมวด ช
    ช็อคโกแลต (นม,ถั่ว) ๑ ออนซ์ (๒๘ กรัม) ๑๔๘ แคลอรี่ (ข้อมูลโดยประมาณ อาจคาดเคลื่อนเล็กน้อย)
    ชาเย็น ๑ ถ้วย ๘๐ แคลอรี่
    หมวด ต
    เต้าหู้เหลือง ๒/๓ อัน (๖๐ กรัม) ๕๔ แคลอรี่
    เต้าส่วน ๑ ชามเล็ก (๑๓๐ กรัม) ๒๐๔ แคลอรี่
    หมวด ท
    ทอดมัน ๕ ชิ้น (๘๐ กรัม) ๑๘๕ แคลอรี่
    ทองหยิบ ๒ ดอก (๓๕ กรัม) ๒๑๐ แคลอรี่
    หมวด น
    เนื้อวัวไม่ติดมัน ๗-๘ ชิ้น (๓๐ กรัม) ๕๕ แคลอรี่
    เนื้อเป็ด,ไก่ไม่ติดมันและหนัง ๗-๘ ชิ้น (๓๐ กรัม) ๕๕ แคลอรี่
    เนื้อหมูไม่ติดมัน ๗-๘ ชิ้น (๓๐ กรัม) ๗๓ แคลอรี่
    เนยแข็ง (Cheddar) ๑ แผ่น (๓๐ กรัม) ๑๑๕ แคลอรี่
    เนย,เนยเทียม ๑ ช้อนชา (๕ กรัม) ๔๔ แคลอรี่
    น้ำมันทุกชนิด ๑ ช้อนชา (๕ กรัม) ๔๔ แคลอรี่
    น้ำสลัดใส ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๔ กรัม) ๔๕ แคลอรี่
    น้ำส้มคั้น ๑/๒ ถ้วย (๑๑๐ กรัม) ๔๐ แคลอรี่
    นมสด UHT ๑ กล่องเล็ก (๒๕๐ กรัม) ๑๗๗ แคลอรี่
    นมสด ๑ ถุง (๒๐๐ กรัม) ๑๔๒ แคลอรี่
    นมสดตราหมี ๑ กระป๋อง (๑๔๔ กรัม) ๑๐๓ แคลอรี่
    นมช็อคโกแลต UHT ๑ กล่อง (๒๔๐ กรัม) ๒๑๐ แคลอรี่
    นมข้นจืด ๑/๓ ถ้วย (๑๔ กรัม) ๑๗๐ แคลอรี่
    นมผง ๑/๒ ถ้วย (๑๔ กรัม) ๑๗๐ แคลอรี่
    นมผงไม่มีไขมัน ๑/๓ ถ้วย ๘๐ แคลอรี่
    นมข้นหวาน ๓ ช้อนโต๊ะ (๑๕ กรัม) ๔๔ แคลอรี่
    นมถั่วเหลือง ๑ กล่อง (๒๕๐ กรัม) ๑๑๐ แคลอรี่
    น้ำผึ้ง ๑ ช้อนโต๊ะ (๒๑ กรัม) ๖๕ แคลอรี่
    น้ำตาลทรายขาว ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๕ กรัม) ๔๑ แคลอรี่
    น้ำตาลทรายขาว ๑ ช้อนชา (๕ กรัม) ๑๕ แคลอรี่
    หมวด บ
    บะหมี่ทอดราดหน้า ๑ จาน (๒๔๒ กรัม) ๓๒๒ แคลอรี่
    บะหมี่สำเร็จรูป ๑ ห่อ ๒๓๗ แคลอรี่
    เบียร์ ๓.๖% ๑๒ ออนซ์ ๑๕๐ แคลอรี่
    หมวด ป
    เป๊ปซี่ โคล่า ๑ ขวด (๒๐๐ กรัม) ๘๗ แคลอรี่
    ปลาทูขนาดกลาง ๑ ตัว (๓๐ กรัม) ๕๔ แคลอรี่
    ปลากระป๋อง ๒ ตัว (๘๗ กรัม) ๑๖๐ แคลอรี่
    หมวด ผ
    ผัดผักบุ้งกับน้ำมันหอย ๑ จานเล็ก (๑๐๐ กรัม) ๗๘ แคลอรี่
    ผัดผักคะน้ากับน้ำมัน ๑ จานเล็ก (๑๐๐ กรัม) ๗๐ แคลอรี่
    ผัดหน่อไม้ฝรั่งกับเนื้อไก่ ๗ ชิ้น ๑ จานเล็ก (๑๐๐ กรัม) ๑๒๕ แคลอรี่
    ผัดมักโรนีไก่ ๑ จานเล็ก (๑๓๘ กรัม) ๒๒๘ แคลอรี่
    เผือกเชื่อม ๑ จานเล็ก (๙๐ กรัม) ๒๒๐ แคลอรี่
    หมวด พ
    พิซซ่า ขนาด ๔ ๓/๔ นิ้ว ๑ ชิ้น (๖๐ กรัม) ๑๔๕ แคลอรี่
    หมวด ถ
    ถั่วลิสง ๒ ช้อนโต๊ะ (๒๕ เม็ด) ๑๐๔ แคลอรี่
    ถั่วอัลมันต์ ๑๕ เมล็ด ๑๐๕ แคลอรี่
    หมวด ม
    มายองเนส ๑ ช้อนโต๊ะ (๑๔ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    มะพร้าวขูด ๒ ช้อนโต๊ะ (๓๐ กรัม) ๔๐ แคลอรี่
    มะละกอสุก ๑/๕ ผลกลาง (๑๖๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    มะม่วงดิบ ๑ ผล (๑๔๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    มะม่วงสุก ๑ ผล (๑๒๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    มังคุด ๖ ผลเล็ก (๑๐๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    มันฝรั่งทอดกรอบ (Potato chip) ๑๐ อัน ๑๑๕ แคลอรี่
    มันฝรั่งทอด (French Fries) ๑๐ อัน ๑๑๙ แคลอรี่
    มันเทศเชื่อม ๑ จานเล็ก ๒๓๐ แคลอรี่
    มันแกงบวด ๑ ชามเล็ก (๑๐๐ กรัม) ๑๘๔ แคลอรี่
    แมงลักน้ำกะทิ ๑ ชามเล็ก (๑๒๐ กรัม) ๑๑๒ แคลอรี่
    เม็ดขนุน ๕ เม็ด (๔๐ กรัม) ๑๗๔ แคลอรี่
    ไมโล (ผง) ๑ ช้อนโต๊ะ ๖๓ แคลอรี่
    เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ๕-๘ อัน ๖๐ แคลอรี่
    หมวด ล
    ละมุด ๒ ผล ขนาดกลาง (๑๐๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    ลอดช่องน้ำกะทิ ๑ ชามเล็ก (๑๑๐ กรัม) ๑๖๖ แคลอรี่
    หมวด ด
    โดนัท (แบบเค้ก) ๑ อัน (๒๕ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    โดนัท (ใช้ยีสต์) ๑ อัน (๕๐ กรัม) ๒๐๖ แคลอรี่
    หมดวด ว
    วานิลลา (Shake) ๑ ถ้วยใหญ่ (๓๑๓ กรัม) ๓๕๐ แคลอรี่
    วีทาโก้ ๑ ถ้วย ๑๐๐ แคลอรี่
    วุ้นเส้นต้มยำ ๑ ชาม (๓๒๒ กรัม) ๒๔๖ แคลอรี่
    ไวน์ (Table) ๓ ๑/๒ ออนซ์ (๑๐๒ กรัม) ๘๕ แคลอรี่
    หมวด ย
    โยเกิรต (ไขมัน ๓%) ๑ ถ้วย (๑๘๐ กรัม) ๑๒๙ แคลอรี่
    เย็นตาโฟน้ำ ๑ ชาม (๓๑๐ กรัม) ๒๐๓ แคลอรี่
    เยลลี่ ๑ ถ้วยเล็ก (๖๐ กรัม) ๓๕ แคลอรี่
    ยาคูลท์ ๑ ขวด (๑๐๐ กรัม) ๔๑ แคลอรี่
    หมวด ส
    ไส้กรอกยาว ๔ นิ้ว ๑ อัน (๓๐ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    ไส้กรอกกว้าง ๒ ๑/๒ นิ้ว ๒ แผ่น (๓๐ กรัม) ๑๐๐ แคลอรี่
    สัปปะรด ๑/๖ ผลกลาง (๑๔๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    ส้มเขียวหวาน ๑ ผล (๑๒๐ กรัม) ๔๐ แคลอรี่
    สังขยาขนุน ๑ ชิ้น (๘๒ กรัม) ๒๕๖ แคลอรี่
    หมวด อ
    องุ่น ๑๖-๒๐ ผล (๑๐๐ กรัม) ๘๐ แคลอรี่
    แอปเปิ้ล ๑ ผล (๖๕ กรัม) ๔๐ แคลอรี่
    ไอศครีมวานิลลา ๑/๒ ถ้วย (๖๖ กรัม) ๑๔๕ แคลอรี่
    ไอศครีมเชอเบริด ๑/๒ ถ้วย (๖๖ กรัม) ๑๓๐ แคลอรี่
    ไอศครีมโซดา ๑ ถ้วย ๔๕๔ แคลอรี่
    ไอศครีมฟอร์โมสต์ ๑ ถ้วยใหญ่ (๑๐๐ กรัม) ๑๖๔ แคลอรี่
    โอเลี้ยง ๑ ถ้วย ๓๐ แคลอรี่
    โอวัลติน ๑ ถ้วย (๖๖ กรัม) ๑๒๕ แคลอรี่
    หมวด ฮ
    แฮมเบอร์เกอร์ ๑ อัน ๒๖๕ แคลอรี่
    ฮอทดอก ๑ อัน ๒๔๕ แคลอรี่

    ขอบคุณ http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=131

    วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

    มารู้จักกับ...วิตามินซี กันเถอะ

    วิตามินซี (อังกฤษ: vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษ: L-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษ: L-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้

    ประโยชน์ของ...วิตามินซี

    เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
    ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
    ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
    ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
    ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายในกรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
    ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
    ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
    ช่วยคลายเครียด
    การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามินอาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้ [1]

     แหล่งวิตามินซี
    แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก
    ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสียอ
    บางข้อมูลแนะนำว่าขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
    แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
    อะเซโรลาเชอรี่ น้ำหนัก 100 กรัม 1600 มิลิกรัม
    ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 230 มิลลิกรัม
    สับปะรด 1 ชิ้นใหญ่(โดยเฉลี่ย) 20-30 มิลลิกรัม
    กะหล่ำดอก น้ำหนัก 100 กรัม 49 มิลลิกรัม
    บรอกโคลี น้ำหนัก 100 กรัม 84 มิลลิกรัม
    น้ำมะนาว 1 แก้ว(100 กรัม) 34 มิลลิกรัม
    มันฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 21.3 มิลลิกรัม
    กะหล่ำปลี น้ำหนัก 100 กรัม 49 มิลลิกรัม
    กล้วยชนิดต่างๆ 1 ลูก(โดยเฉลี่ย) 8.5 มิลลิกรัม
    พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 100-120 มิลลิกรัม
    ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 76.5 มิลลิกรัม
    สตรอว์เบอร์รี่ น้ำหนัก 100 กรัม 77 มิลลิกรัม
    มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 21.3 มิลลิกรัม
    มะละกอ น้ำหนัก 100 กรัม 60 มิลลิกรัม

    วิธีรักษาอาการเจ็บคอ

    โดยทั่วไป อาการเจ็บคอ (sore throat) อาจเกิดจากอาการของโรคภูมิแพ้ อาการทอนซิลอักเสบ การสัมผัสกับอากาศแห้งจัด รวมทั้งการสูดควันพิษ ซึ่งภายในลำคอจะเป็นสีแดงเรื่อ ทำให้รู้สึกระคายเคือง หรือสากคอ นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจทำให้ลำคออักเสบ โดยเริ่มจากด้านหลังของปาก ไปจนถึงหลอดอาหาร และอาจเป็นอาการแสดงเริ่มแรกของไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง ทั้งเสมหะ และน้ำลาย ซึ่งอาการเจ็บคอที่พบส่วนใหญ่มีสาเหตุดังนี้
    การติดเชื้อไวรัส คือ สาเหตุหลักที่ทำให้คนเป็นไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บคอมากที่สุด โดยปกติถ้าร่างกายสร้างภูมิต้านทานได้ ก็จะหายเป็นหวัดเองภายในหนึ่งสัปดาห์ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และน้ำมูกไหล นอกจากนี้ อาการเจ็บคออาจเกิดจากโรคปอดบวม จากเชื้อไวรัส หรือ โมโนนิวคลีโอซิส
    การติดเชื้อแบคทีเรีย พบน้อยกว่าการติดเชื้อไวรัส แต่อาการอาจรุนแรงกว่ามาก ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 2-7 วัน โดยเฉพาะในช่วงอายุ 5-25 ปี จะติดเชื้อกันง่าย ทั้งทางน้ำมูก และเสมหะ นอกจากนี้ ยังติดต่อทางอาหาร นม และน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัส ซึ่งถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที เชื้อโรคอาจลุกลามไปทำลายหัวใจและไตอย่างถาวร
    บางคนที่มีอาการเจ็บคอ จนฝากล่องเสียงอักเสบ ช่องคอจะบวมมาก จนปิดทางเดินหายใจควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจติดเชื้อสเตร็ปโทรต และเมื่อมีอาการติดเชื้อซ้ำบ่อยๆ จนเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ เป็นไข้รูมาติกได้
    ปรับตัวเพื่อลดเจ็บคอ


    1.
    ดื่มน้ำมากขึ้นกว่าเดิม 2 เท่า น้ำจะช่วยให้เสมหะเหนียวน้อยลง และขับออกง่ายขึ้น

    2.
    ปรับสภาพอากาศให้ชื้นขึ้นเล็กน้อย เช่น หาอ่างใส่น้ำมาวางบริเวณที่ร้อน หรือปลูกต้นไม้ในบ้าน เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศที่แห้ง จะช่วยให้เยื่อเมือกในช่องคอไม่แห้ง (เมื่อช่องคอแห้ง จะทำให้ระคายคอ และนอนไม่หลับ)

    3.
    หลีกเลี่ยงควันและมลพิษต่างๆ งดสูบบุหรี่ รวมทั้งสารระเหยจากน้ำยาทำความสะอาดในบ้าน หรือสีทาบ้าน เพราะจะยิ่งทำให้เจ็บคอมากขึ้น

    4.
    หลีกเลี่ยงอาหารก่อพิษ เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ อาหารที่มีน้ำตาลสูงจำพวกเค้ก ขนมหวาน เพราะจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ และโรคติดเชื้ออื่นๆ อันเป็นสาเหตุของการเจ็บคอ

    5.
    ใช้เสียงให้น้อยลง เมื่ออาการเจ็บคอลุกลาม จนทำให้กล่องเสียงอักเสบ จนทำให้ระคายคอมากเวลาพูด หรือเสียงหายไปชั่วขณะ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และให้ความอบอุ่นกับร่างกายเยอะๆ

    วิตามินธรรมชาติแก้อาการเจ็บคอ


    1.
    เบต้าแคโรทีน มีมากในแครอท ฟักทอง ตำลึง แค กระเพา ขี้เหล็ก ผักเซียงดา ยอดฟักขาว ผักติ้ว และผักแต้ว เมื่อสารเบต้าแคโรทีนเข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอ และทางเดินหายใจที่ต้องผลิตน้ำย่อยบ่อยๆ มีความแข็งแรง

    2.
    วิตามินดี จากปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาสวาย ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจะละเม็ด ปลาซาบะ ปลาซาดีน ปลาแซลมอน และปลาทะเล เพราะวิตามินดีจากไขมันปลา จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ

    3.
    วิตามินอี มีมากในผลอะโวคาโด และอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง

    4.
    วิตามินบี โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของ เชื้ออะซิโดฟิลัส (acidophilus) เช่น โยเกิร์ต เพราะจะช่วยทดแทนแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินบีบางชนิด ที่ถูกยาปฏิชีวนะทำลายไป

    ยาแก้เจ็บคอจากก้นครัว


    เกลือ เกลือที่เราใช้ปรุงอาหารเป็นยาแก้เจ็บคอได้เป็นอย่างดี โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 แก้ว ใช้อมกลั้วคอ หรือทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้

    น้ำอุ่น ผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกับน้ำมะนาว หรือน้ำส้มไซเดอร์แอปเปิ้ล 1 ช้อนชา ใช้กลั้วคอ วันละ 2-3 ครั้ง ส่วนผสมดังกล่าวมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส

    ผลไม้รสเปรี้ยวบรรเทาเจ็บคอ

    อย่ามองข้ามผลไม้รสเปรี้ยวนะคะ เพราะกรดซีตริก (citric) ในรสเปรี้ยวมีสรรพคุณช่วยลดอาการเจ็บคอได้ดี และวิตามินซีจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และช่วยลดระยะเวลาในการเป็นหวัดให้สั้นลง ซึ่งผลไม้รสเปรี้ยวทีเราแนะนำมีดังนี้


    มะขามป้อม ใช้เนื้อผลแก่สดประมาณ 2-3 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยววันละ 3-4 ครั้ง วิตามินซี และรสเปรี้ยวอมฝาดในมะขามป้อม จะช่วยแก้หวัด ทำให้คอชุ่มชื่น แก้อาการคอแห้ง และแก้อาการเจ็บคอ

    มะนาว ใช้ผลสดคั้นเอาแต่น้ำ แทรกเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือ ใช้มะนาวครึ่งลูกบีบใส่น้ำอุ่นครึ่งแก้ว แล้วผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา วิตามินซี และรสเปรี้ยวของมะนาวจะช่วยขับน้ำลาย ลดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุผิวภายในลำคอ ส่วนน้ำผึ้งมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ

    มะขาม ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยว หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือกินพอสมควร หรือจะคั้นเป็นน้ำมะขามแทรกเกลือเล็กน้อย และใช้จิบบ่อยๆ ก็ได้ เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว ช่วยขับเสมหะ ทำให้คอชุ่มชื่น และแก้อาการเจ็บคอ 

    น้ำส้ม นำผลส้มประมาณ 3 ผล ล้างให้สะอาด คั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่น 1/2 ช้อนชา จิบบ่อยๆเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของส้มมีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ

    เสาวรส นำเสาวรสสุกประมาณ 2-3 ผล ล้างให้สะอาด ผ่าครึ่ง ใช้ช้อนตักเมล็ดและส่วนที่เป็นน้ำสีส้มออกจากเนื้อผล คั้นกรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง เพื่อแยกเอาเมล็ดและเส้นใยออก เติมน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ชิมรสตามใจชอบ จิบเมื่อมีอาการ รสเปรี้ยวของเสาวรสมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ

    บำบัดด้วยน้ำมันหอม

    ใช้น้ำมันกลิ่นยูคาลิปตัส เจอราเนียม ลาเวนเดอร์ และเสจอย่างใดอย่างหนึ่ง ทาบริเวณผิวหนัง ตั้งแต่ใต้คางไปสุดลำคอ หรือสูดดมไอระเหย โดยการหยดลงไปในเครื่องทำไอน้ำ หรืออ่างอาบน้ำ จะช่วยลดอาการเจ็บคอได้

    เคล็ดลับ การลดหน้าท้องอย่างถูกวิธี

     วิธีการออกกำลังกายกระชับสัดส่วน คนอ้วนส่วนใหญ่ มักมีหน้าท้องยื่นออกมา ทำให้ยุ่งยากในการแต่งตัว นุ่งกระโปรงก็ไม่สวย นุ่งกางเกงก็อึดอัด การลดน้ำหนักให้ได้ผล ต้องควบคุมอาหาร ควบคู่กับ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายใช้พลังงาน ที่สะสมไว้อย่างเต็มที่ การออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อเผาผลาญไขมันปรับเปลี่ยน เป็นกล้ามเนื้อให้ร่างกายฟิตและเฟิร์มยิ่งขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ ขอนำเสนอ ท่ากายบริหารเฉพาะบริหารหน้าท้อง ดังนี้

    ท่าที่ 1 กล้ามเนื้อท้องรวม
    ท่าเตรียมพร้อม นอนหงายกับพื้น มือประสานไว้ที่ท้ายทอย งอเข่าเล็กน้อย ยกศีรษะขึ้นในมุมประมาณ 40 องศากับพื้น โดยอาศัยแรงยกจากลำตัวบนและไหล่ทั้งสองข้าง โดยมือควรจะกางออกตึงไว้ แต่ไม่ใช่ห่อ และออกแรงดันศีรษะ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดคอ คอเคล็ดตามมาได้ง่าย

    ท่าที่ 2 กล้ามเนื้อท้องด้านบน
    นอนราบกับพื้น ขายกตั้งฉาก  ใช้ช่วงน่องไขว้กัน เพื่อเพิ่มความหนักเวลายกตัวขึ้น มือประสานกันที่ท้าทอย ยกศีรษะขึ้นโดยอาศัยแรงยกจากลำตัวบนและไหล่ทั้งสองข้าง โดยมือคอยประคองศีรษะเอาไว้

    ท่าที่ 3 กล้ามเนื้อท้องด้านข้าง
    นอนราบกับพื้น โดยยกเข่าข้างซ้ายขึ้นและพับขาขวาแนวนอนขัดกัน มือประสานกันไว้ที่ท้ายทอย ยกศีรษะขึ้นโดยอาศัยแรงยกจากลำตัวบนและไหล่ทั้งสองข้าง โดยมือคอยประคองศีรษะเอาไว้ ซึ่งท่านี้จะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องด้านซ้าย และทำท่าเดิม แต่ยกเข่าขวาขึ้นและพับขาซ้ายสลับข้างกันกับตอนแรก เพื่อบริหารกล้ามเนื้อด้านขวา

    ท่าที่ 4 กล้ามเนื้อท้องน้อย
    นอนราบกับพื้น พับขาให้ปลอดภัยบรรจบกัน มือประสานกันรองไว้ที่ท้ายทอย ยกศีรษะขึ้นโดยอาศัยแรงยกจากลำตัวบนและไหล่ทั้ง 2 ข้าง โดยมือคอยประคองศีรษะเอาไว้

    ท่าที่ 5 กล้ามเนื้อท้องส่วนล่าง
    นอนราบกับพื้น ขาเหยียดตรง มือสองข้างวางราบกับพื้น รองใต้สะโพกเพื่อรับน้ำหนักให้ส่วนหลัง เกร็งขาไว้และยกขึ้นตั้งฉาก  ค้างไว้นับ 1-10 แล้วเหยียดกลับไปท่าเดิม

    ท่าที่ 6 กล้ามเนื้อท้องด้านบนและล่าง
    นอนราบกับพื้น มือขวารองไว้ที่ท้ายทอยเพื่อพยุงศีรษะ มืออีกข้างเหยียดตรงตั้งฉากกับลำตัว ยกเข่าด้านขวาให้ตั้งขึ้น และยกขาซ้ายพาดคล้ายท่าไขว่ห้าง ใช้กำลังที่หัวไหล่ขวาและหลังยกตัวเฉียงขึ้น ให้ข้อศอกแทบจรดเข่าซ้าย ทำท่าเดิม แต่เปลี่ยนจากใช้มือขวารองและเข่าขวาตั้ง เป็นมือและเข่าซ้ายแทนเพื่อบริหารกล้ามเนื้อด้านตรงข้าม

    แต่ละท่าควรทำซ้ำท่าละ 20 ครั้ง หากเป็นท่าที่ต้องสลับข้าง ให้ทำข้างละ 20 ครั้ง ใช้เวลาในการทำประมาณครึ่งชั่วโมง นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ลดหน้าท้องแล้ว ยังช่วยลดปัญหาอาการปวดหลัง ปวดตามตัวได้อีกด้วย

    ขอบคุณ - http://tomdy.narak.com/board.php?No=15340

    ไซนัสอักเสบ

            ไซนัสคืออะไร

    ไซนัสเป็นโพรงอากาศในกระโหลก ซึ่งพบได้ที่หัวคิ้ว ขอบจมูก และโหนกแก้ม หน้าที่ปกติของโพรงไซนัสไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่อาจทำให้
    - กระโหลกเบา
    - เสียงก้อง
    - สร้างเมือกและภูมิคุ้มกันให้กับโพรงจมูก
    โดยปกติเมือกในโพรงไซนัสจะไหลเข้าสู่โพรงจมูกผ่านช่องเล็ก ๆ (Ostium) ที่ผนังข้างจมูก เพื่อใช้ในการต่อสู้เชื้อโรคและระบายสิ่งแปลกปลอม จากจมูกลงสู่ลำคอหรืออกทางจมูก
    ไซนัสอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร
    เมื่อจมูกเกิดอาการบวม เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในจมูก จะทำให้ช่องที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัส และจมูกดังกล่าวอุดตันและเกิดการคั่งค้างของน้ำเมือกในโพรงจมูก และเมื่อเชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่โพรงไซนัสได้ก็จะแบ่งตัวและ ทำให้เกิดการติดเชื้อของโพรงไซนัส และมีหนองเกิดขึ้น ทำให้จมูกยิ่งบวมมากขึ้น ซึ่งเรียกว่าเกิดโรค "ไซนัสอักเสบ"
          
           อาการ


    อาการของโรคไซนัสอักเสบอาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่ โดยในผู้ใหญ่จะมีอาการไข้สูง, ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียได้มาก กว่าในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งไม่ค่อยมีอาการดังกล่าว
    เมื่อช่อง (Ostia) ที่ติดต่อระหว่างโพรงไซนัสและจมูกเปิดออกเป็นครั้งคราว หนองและเมือกจากโพรงไซนัสก็จะไหลลงสู่จมูกและคอ ทำให้เด็กเกิดอาการไซนัส
    น้ำมูกไหลโดยสีของน้ำมูกอาจเป็นสีเขียวเหลืองหรือขาวเป็นมูก
    ไอ เพราะเมือกหรือหนองไหลลงคอ กระตุ้นให้เกิดอาการไอโดยเฉพาะตอนนอนในเวลากลางคืน
    ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
    การรักษาโรคไซนัสอักเสบ
    ประกอบด้วยหลักใหญ่ 3 ประการ คือ
    1. การให้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ = ยาแก้อักเสบ)
    2. การทำโพรงจมูกที่บวมให้ยุบลง เพื่อให้หนองในโพรงไซนัสไหลถ่ายเทออกมาให้หมด
    3. การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
    การใช้ยาฆ่าเชื้อโรค (ยาปฏิชีวนะ)
    1. เชื้อโรคที่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบ ได้แก่ Streptococcus pneumoniae, Hemophilus influenzae และ Branhamella catarrhalis เป็นส่วนใหญ่ ยาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ ได้แก่ Amoxicillin, Amoxicillin/clavulanic acid, Cefprozil, Ceftibuten, Cefuroxime axetil, Cefaclor, Clarithromycin, Clindamycin, Erythromycin, Trimethoprim.Sulfamethoxazole
    แพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาเหล่านี้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน
    2. ระยะเวลาในการใช้ยาจะนานกว่าการรักษาการติดเชื้อของระบบหายใจตามปกติ อาจจะให้นานถึง 3-6 สัปดาห์ ตามที่แพทย์จะแนะนำ (ทั้งนี้เพราะจะต้องรักษาจนหนองหมดไป จากโพรงไซนัส
           การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือทำได้ง่าย ๆ โดย

    1. หาซื้อน้ำเกลือหรืออาจผสมขึ้นเองง่าย ๆ โดยใช้น้ำสะอาด 750 cc ผสมกับเกลือสะอาด 1 ช้อนชา หรืออาจใช้ 0.9% normal saline ที่ไม่มีน้ำตาลผสมอยู่
    2. เทน้ำเกลือลงในแก้วสะอาด
    3. ดูดน้ำเกลือจากแก้วสะอาดเข้าในลูกยางหรือหลอดฉีดยา (Syringe)
    4. พ่นน้ำเกลือจากลูกยางหรือหลอฉีดยาเข้าในจมูกในท่าก้มหน้า, กลั้นหายใจในระหว่างฉีดน้ำเกลือเข้าสู่จมูก
    5. ทำซ้ำจนน้ำมูกหมด ปฏิบัติวันละ 2-3 ครั้งตามคำแนะนำของแพทย์
    6. บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาพ่นจมูก หรือยาล้างจมูกให้ใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
    การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น
    1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบจำนวนหนึ่ง (อาจถึงร้อยละ 50) อาจจะมีอาการของโรคไซนัสอักเสบ ที่เนื่องมาจากโรคภูมิแพ้ ของจมูก ซึ่งจะทำให้จมูกบวมและมีอาการติดเชื้อตามมา ผู้ป่วยดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงสารแพ้จากไรฝุ่นตามคำแนะนำของแพทย์
    2. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
    ควันบุหรี่
    การติดเชื้อจากคนรอบข้าง
    การอยู่ในที่แออัด
    การว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ
    การติดตามผลการรักษา
    เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้ป่วยควรจะต้องมารับการประเมินผลการรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง
            
              ขอบคุณ : http://www.ku.ac.th/e-magazine/april44/know/zynus.html

    รู้จักกับ...ฮิสทีเรีย...ที่แท้จริง

    โรคฮิสทีเรีย ใครหลายคนเคยคิดว่านี่คือโรคของผู้หญิงที่ไม่รู้จักพอในเซ็กซ์ หรือผู้หญิงที่มากรักว่า และสามารถติดต่อกันได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันคือ (นิมโฟมาเนีย) Nymphomania โรคที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็น ฮิสทีเรีย

    ก่อนอื่นต้องขอเท้าความไปถึงฮิสทีเรียว่าไม่ได้หมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูง แต่ความจริงแล้ว ฮิสทีเรียอาจจะเกิดในผู้หญิงหรือผู้ชายก็ได้

    ฮิสทีเรียนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

    1. โรคประสาทฮิสทีเรีย จะแบ่งเป็น Conversion Reaction คือคนที่มีความเครียด กังวลใจ หรือเกิดความขัดแย้งในจิตใจอย่างรุนแรง พวกนี้จะเกิดการผิดปกติที่ระบบการเคลื่อนไหวหรือรับรู้ เช่น เป็นอัมพาต ชาตามแขนและขา และ Dissociative Type คือสูญเสียความจำในบางเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจจนไม่ต้องการรับรู้

    2. บุคลิกภาพแบบฮิสทีเรีย คนพวกนี้จะมีลักษณะการแสดงออกที่มากเกินความจริง เพื่อดึงดูดความสนใจ มีความเป็นเด็กสูง ชอบเรียกร้องความสนใจและแสดงออกทางอารมณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งอาจเกิดจากการขาดความรัก ความอบอุ่นในวัยเด็ก

    คราวนี้ลองมาดู Nymphomania กันบ้าง Nymphomania เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งวงการแพทย์ในสมัยนั้นถือว่า Nymphomania เป็นโรคทางกายภาพ (แต่ในวงการแพทย์ปัจจุบันถือว่า Nymphomania เป็นอาการป่วยทางจิต) เพราะมีกรณีศึกษาของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกสาวชาวนาในรัฐแมสซาชูเซตส์ เธอกล่าวคำพูดลามกอนาจารต่อหน้าสาธารณชนด้วยการเสนอร่างกายและแสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศโดยปราศจากการควบคุมและมีอารมณ์ขุ่นหมอง

    หลังจากการวินิจฉัยจากแพทย์ซึ่งตรวจสอบร่างกายของเธอปรากฏว่า มดลูกของเธอขยายใหญ่ขึ้น ช่องคลอดหลั่งสารหล่อลื่นมากผิดปกติ และคลิตอริสที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความต้องการทางเพศ

    คำว่า Nymphomania มาจากคำว่า Nympho หมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงและ Mania ซึ่งหมายถึง ความคลั่งไคล้หรือความบ้าคลั่ง Nymphomania จึงหมายถึงผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูงเกินปกติ คลั่งไคล้ในเซ็กซ์เกินปกติ

    จะว่าไปแล้ว Nymphomania ยังไม่เป็นที่รู้จักในสังคมบ้านเรามากนัก หรืออาจจะรู้จักอาการของโรค แต่เรียกชื่อไม่ตรงกับอาการ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเรียกอาการเหล่านี้ว่าฮิสทีเรีย

    ลักษณะอาการของ Nymphomania คือการไร้ความสามารถที่จะระงับอารมณ์ในเรื่องเซ็กซ์ และมีความไม่สมบูรณ์ทางจิต จะต้องได้รับการตอบสนองทางเพศตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกับใครก็ได้ และโดยไม่สนใจผลที่จะเกิดตามมา ถึงแม้ว่าจะได้รับการตอบสนองทางเพศหลายครั้งแล้ว ก็จะเกิดความต้องการทางเพศขึ้นอีก ผู้หญิงที่เป็น Nymphomania จะเปลี่ยนคู่นอนบ่อยจนเรียกได้ว่าสำส่อนทางเพศ รวมไปจนถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหลายครั้งต่อวันด้วย

    ผู้หญิงที่ป่วยเป็น Nymphomania อาจมีสาเหตุมาจากทางกายภาพ คือ ความผิดปกติของกลีบสมองในส่วนขมับซึ่งจะพบได้น้อยมาก หรืออาจจะมาจากการได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น แอมเฟตามีน หรือติดสารเสพติด

    ส่วนสาเหตุที่มาจากสภาพจิตนั้น จะเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีความต้องการทางเพศมากเกินไป อารมณ์ไม่คงที่ สภาวะซึมเศร้าที่ทำให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนไป หรือการได้เห็นคนร่วมรักกันตั้งแต่เด็ก

    โรคนี้ในผู้ชายก็เป็นได้ แต่เรียกว่า สไตเรียซิส (Satyriasis) ซึ่งมีอาการคล้ายกับผู้หญิง แต่ต่างกันตรงที่ว่ามดลูกไม่หดตัว

    อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการติดเซ็กซ์ถือว่าเป็นปัญหาสังคมเช่นเดียวกับติดเหล้า ติดยาเสพติด หรือติดการพนัน เพราะจะทำให้หมกมุ่นจนไม่เป็นอันทำอะไร

    ฉะนั้นรู้อย่างนี้แล้วอย่าสับสนกันระหว่างผู้ที่เป็นโรคฮิสทีเรีย เป็นนิมโฟมาเนียนะ และโรคนี้ก็ไม่สามารถติดต้อกันได้ทางการมีเพศสัมพันธ์ด้วย......
    ขอบคูณ : http://webboard.yenta4.com/topic/125294

    10 ความเข้าใจผิดๆกับเรื่องอาหาร

       1.งดมื้อเช้า ถ้าใครกําลังทําอยู่ก็เลิกเสียเถอะค่ะ เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สําคัญมาก นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานให้คุณสู้งานได้อย่างไม่มีถอยแล้ว ยังช่วยให้ไม่หิวมากด้วยก่อนที่จะถึงมื้อต่อไป

       2.งดกินทุกอย่างก่อนออกกําลังกาย ไม่ควรค่ะ เพราะร่างกายต้องการพลังงานเพื่อนํามาใช้ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น ก่อนออกกําลังกายควรกินพวกอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (เพราะมีไฟเบอร์มากและไขมันต่ำด้วย) อย่างโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง หรือขนมปังค่ะ

         3.หลังออกกําลังกาย ควรเว้นช่วงนานๆ แล้วจึงค่อยกิน จริงๆ แล้ว ไม่ต้องเว้นไว้นานขนาดนั้นก็ได้ กินหลังจากออกกําลังกายไปแล้ว 1 ชั่วโมงก็โอ.เค.แล้วละ และควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรเชิงซ้อนด้วยนะ เพราะจะได้ไปช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้ดีขึ้นค่ะ

         4.กินขนมที่มีส่วนประกอบของโปรตีนหรือโปรตีนเชคแทนข้าว อาหารขบเคี้ยวเหล่านี้ใช่ว่าจะไม่มีแคลอรีหรือไขมันเลยนะคะ อีกทั้งโปรตีนเชคนั้นก็ไม่มีไฟเบอร์อีกด้วย สรุปแล้วไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้กินอาหารจริงๆ เข้าไปหรอกค่ะ

         5.เชื่อมั่นในฉลาก อย่าเชื่อในทุกๆ สิ่งที่คุณได้อ่าน โดยเฉพาะฉลากที่ติดอยู่ข้างๆ ขวดเครื่องดื่ม เพราะยังมีอีกหลายๆ โรงงานที่ขาดการควบคุมที่เคร่งครัดอยู่ ทางที่ดี ก่อนซื้อควรดูองค์ประกอบหลายๆ อย่างรวมกัน แล้วจึงค่อยตัดสินใจ

         6.กินน้อยๆ คนส่วนมากมักจะกลัวไม่กล้ากินเยอะจนบางครั้งพลังงานที่รับเข้าไปไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการสําหรับทํากิจกรรมนั้นๆ อย่าลืมสิคะว่า กินน่ะกินได้ แต่ก็อย่าให้มากจนเกินไปนัก เพราะร่างกายจะเผาผลาญไม่ทัน เกิดเป็นไขมันสะสม แล้วต้องมานั่งกลุ้มไดเอ็ทกันใหม่ จะยุ่งเอานะ

         7.ออกกําลังกายเท่านั้นคือหนทางการลดอ้วน ถึงแม้ว่าคุณจะออกกําลังกายบ่อยแค่ไหนก็ตาม แต่หากขาดการวางแผนการกินที่ดีต่อสุขภาพแล้ว การออกกําลังกายที่ทําไปก็ถือว่าสูญเปล่าได้นะ

         8.ไม่ควรกินน้ำมากๆ ขณะออกกําลังกาย ผิดค่ะ การเสียน้ำมากๆ ไม่ดีต่อร่างกายเลยนะคะ โดยเฉพาะเวลาที่กําลังอยู่ในที่ร้อนๆ ฉะนั้น ระหว่างและหลังออกกําลังกายก็อย่าลืมดื่มน้ำเข้าไปให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วยละ

         9.ไดเอ็ทแบบอดๆ แน่นอนค่ะว่าการลดน้ำหนักแบบนี้จะเห็นผลเร็วและง่ายต่อการปฏิบัติด้วย แต่มันก็ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องนัก คุณควรหันกลับมาใช้วิธีแบบเดิมๆ คือควบคุมอาหารและออกกําลังกายควบคู่ไปด้วยจะดีกว่าค่ะ

         10.กินโปรตีนเยอะๆ แป้งน้อยๆ หลายๆ คน อาจจะกําลังฮิตกับการไดเอ็ทประเภทนี้มาก คือ ไม่กินพวกข้าวหรือขนมปังเลย อย่าลืมสิคะว่า คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนก็มีความสําคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อนะ เอ้า...ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว ทิ้งมันได้ลงก็ให้มันรู้ไป!

    ขอบคุณเรื่องจาก Woman plus Vol.7 No.348